Page 45 - Psychology
P. 45
หน้ า | 42
บทที่ 3
จิตวิทยาสังคม
พฤติกรรมมนุษย์และพฤติกรรมสังคม (Social Behavior)พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลไม่ว่าจะเป็น
บุคคลต่อบุคคล บุคคลภายในกลุ่มหรือพฤติกรรมใดๆ ของแต่ละบุคคลนั้น หากเป็นการกล่าวถึงพฤติกรรม
ใดๆ และพฤติกรรมนั้นมีสาเหตุการเกิดมาจากสังคมหรือได้รับอิทธิพลมาจากสังคมแล้วละก็จะเรียกพฤติกรรม
นั้นว่าเป็น “พฤติกรรม” เพื่อให้เข้าใจว่าจิตวิทยาสังคมเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร มีสาระครอบคลุมถึง
ไหน ขอเสนอความหมายที่มีผู้นิยามไว้ ดังนี้
วัฒนา ศรีสัตย์วาจา (2534 : 3) นิยามว่า จิตวิทยาสังคม คือ “การศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
เกี่ยวกับปัจจัยทางสถานการณ์และบุคคล ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของแต่ละบุคคล เป็นการศึกษา
พฤติกรรมระหว่างบุคคล หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์กับบุคคล และเป็นการศึกษาพฤติกรรมทาง
สังคมทั้งหมด”
Michener and Delamater (1999 : 3) นิยามว่า จิตวิทยาสังคม คือ การศึกษาอย่างเป็น
ระบบเกี่ยวกับธรรมชาติและสาเหตุการเกิดพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์
จะเห็นได้ว่า จากการให้ความหมายจิตวิทยาสังคมแต่ละความหมายนั้น หากพิจารณาวิธีการศึกษา
ทางจิตวิทยาสังคมแล้วจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อค้นหาความรู้ทางพฤติกรรมมนุษย์ไปสู่ความ
ถูกต้องแม่นยํา มองว่าเหมือนนักวิทยาศาสตร์ทั่วๆไป ที่ศึกษาความรู้อย่างเป็นระบบ และมีความลําเอียง
น้อยที่สุด (Smith and Mackie, 2000 : 8)
อีกมุมหนึ่งของจิตวิทยาสังคมนั้นจะเห็นว่า จิตวิทยาสังคมมีแบบของพฤติกรรม (Core Concern)
ที่สามารถอธิบายได้เมื่อมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่อกัน (Social Interaction) อยู่ 4 ลักษณะ (Michener
and Delamater, 1999 : 3 – 5)
1. ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง
บุคคลในสังคมย่อมได้รับการปะทะสัมพันธ์ระหว่างกัน การเกี่ยวข้องกันนั้นย่อมมีได้หลาย
ช่องทางโดยจะออกมาในรูปของการสื่อสารระหว่างกันในเรื่องราวต่างๆมากมาย ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจะ
เป็นไปในลักษณะการให้ข้อมูลข่าวสารหรือการชักจูงก็ได้ เมื่อบุคคลหนึ่งได้รับข้อมูลข่าวสารหรือการชักจูงจาก
อีกบุคคลหนึ่งแล้วอาจนําไปสู่การเปลี่ยนความคิดหรือความเชื่อเดิมของตนได้ ต่อจากนั้นความคิดความเชื่อ
ของเขาก็จะไปแสดงออกต่อบุคลอื่นๆ ในสังคมต่อไป
2. ความเกี่ยวพันของกลุ่มที่มีต่อบุคคลหนึ่ง
พฤติกรรมลักษณะนี้เป็นความเกี่ยวพันของกลุ่มที่มีต่อสมาชิกของกลุ่ม โดยธรรมชาติแล้วบุคคล
แต่ละคนจะเป็นสมาชิกของกลุ่มหลายกลุ่ม อาทิ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มทํางาน และกลุ่มสมาคม เป็นต้น
กลุ่มถือว่ามีอิทธิพลต่อบุคคลในลักษณะของการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization) สมาชิกของ
กลุ่มมีการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ ทุกๆ ด้าน และถือได้ว่าเป็นแหล่งหล่อหลอมในการอยู่ร่วมกัน ทั้งกลุ่ม
ย่อยและกลุ่มในสังคมใหญ่ๆ ได้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ค่านิยม ความสามารถ
ทางภาษา ความเชื่อทางศาสนา และการรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง (Self) เป็นต้น
3. ความเกี่ยวพันของบุคคลที่มีต่อกลุ่ม
พฤติกรรมด้านนี้เป็นการแสดงออกของบุคคลในกลุ่มที่มีต่อกลุ่ม บุคคลดังกล่าวนี้มักมีอิทธิพลต่อ
ความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในกลุ่มและผลงานของกลุ่ม บุคคลที่มีอิทธิพลดังกล่าวนี้จะอยู่ในตําแหน่งผู้นํา
กลุ่มเป็นส่วนใหญ่ หากเขามีภาวะผู้นําดี เช่น มีความสามารถวางแผนงาน แยกแยะงาน มีความคิดริเริ่ม