Page 47 - Psychology
P. 47

หน้ า  | 44

               ประโยชน์ของจิตวิทยาสังคม
                       1.  สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข นําความรู้ทางวิชาการมาพัฒนาศักยภาพของตน

               (Potentialities) เสริมบุคลิกภาพและทําตนให้เป็นบุคคลที่สังคมปรารถนา
                       2.  สามารถเข้าใจพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มและในทีมงานได้อย่างดีปรับความแตกต่างของคน
               ภายในกลุ่มให้เกิดความกลมกลืนกัน  เข้าใจกันเพิ่มความร่วมมือและลดความขัดแย้งภายในกลุ่มดังที่
               (Hallander,  1978)  กล่าวไว้ว่า “จิตวิทยาสังคมให้คุณค่าอันเป็นพื้นฐาน (Fundamental  Value)  ที่จะทํา

               ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดําเนินกิจการต่างๆได้อย่างแท้จริง”
                       3.  สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมทางสังคมได้ถูกต้อง  ซึ่งจะนําไปสู่การเข้าใจธรรมชาติของคนอย่าง
               แท้จริง  เพราะเมื่อสังคมเปลี่ยนเร็ววิธีการดําเนินชีวิตของคนก็เปลี่ยนเร็วตามไปด้วย  ยิ่งบทบาทของบุคคลที่
               เป็นผู้บริหารจําเป็นต้องรู้ถึงบุคลิกภาพความรู้สึกนึกคิด  ทัศนคติต่องานของบุคคลรอบข้างได้อย่างละเอียดถี่

               ถ้วน
                       4.  จิตวิทยาสังคมยังสามารถก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ  ช่วยให้มีความถูกต้องแม่นยําใน
               การพรรณนา  (Description)  การอธิบาย  (Explanation)  การทํานาย (Prediction)  การควบคุม  (Control)


               ทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคม
                      นักจิตวิทยาสังคมพยายามที่จะอธิบายพฤติกรรมทางสังคม  โดยการศึกษาค้นคว้าและสร้างแนวคิด
               ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางโดยเริ่มจากต้นศตวรรษที่ 19   เป็นต้นมากลุ่มแนวคิดต่างๆที่มาของจิตวิทยา

               สังคมในปัจจุบันจําแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ  (Seares,Peplau, Taylor, 1991  :  6-16) ดังนี้
                       กลุ่มที่ 1 กลุ่มทฤษฎีจิตวิเคราะห์   (psychoanalytic  theory) ฟรอยด์  (Sigmund  Freud)
               เป็นผู้ก่อตั้งฟรอยด์สนใจศึกษาเรื่องของจิตมนุษย์โดยเชื่อว่าพฤติกรรมที่แสดงออกได้รับแรงจูงใจจากแรงขับ
               และแรงบันดาลใจที่อยู่ภายใน (internal  drives  and  impulses)  เช่นเรื่องเพศและความก้าวร้าวเขาเชื่อว่า
               พฤติกรรมของผู้ใหญ่ก่อร่างสร้างรูปมาจากความขัดแย้งทางจิตใจที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากประสบการณ์ใน

               ครอบครัวในวัยเด็ก  กลุ่มนักจิตวิเคราะห์พยายามค้นหาเพื่อทําความเข้าใจถึงแรงบังคับผักพายในทางจาก
               ระดับจิตสํานึก  (conscious)  และจิตใต้สํานึก   (unconscious)  ซึ่งเป็นพลังผลักดันให้เกิดพฤติกรรมโดยตรง
                       กลุ่มที่ 2 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (behaviorism)  เสนอแนวคิดที่แตกต่างกันออกไปในการศึกษา

               ประสบการณ์ของมนุษย์  นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้แก่ พาฟลอฟ  (lvan  Pavlov)  วัตสัน  (John B. Wastson)
               สกินเนอร์  (Skinner)  และอื่นๆๆนักพฤติกรรมนิยมเน้นการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์  และไม่สนใจ
               ในเรื่องของความรู้สึกนึกคิดใดๆพวกเขาชอบศึกษาในสิ่งที่เขาสังเกตเห็นและวัดได้ซึ่งเรียกว่า  พฤติกรรม
               ภายนอก  (over  behavior)  รวมทั้งสนใจศึกษาวิธีการที่สิ่งแวดล้อมกระทําการหล่อหลอมพฤติกรรมของสัตว์

               อันนําไปสู่ข้อสรุปที่ว่าพฤติกรรมที่ปรากฏเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในอดีตที่ผ่านมา  นักพฤติกรรมนิยมมี
               เอกลักษณ์ที่โดดเด่นในการใช้หลักการอธิบายกระบวนการเฉพาะที่สําคัญต่อการเรียนรู้และแสดงออกเป็น
               พฤติกรรมของมนุษย์
                       กลุ่มที่ 3 กลุ่มเกสตัลต์  (Gestalt)  พัฒนาขึ้นโดยโคลเลอร์  (Wolfgang  Koler)  คอฟกา  (Kurt

               Koffka)  เลวิน  (Kurt  Lewin)  และนักจิตวิทยาชาวยุโรปอื่นๆ  ๆอพยพไปอยู่อเมริกาในช่วงปี ค.ศ.   1930
               กลุ่มนี้สนใจศึกษาวิธีการซึ่งปัจเจกบุคคลรับรู้และเข้าใจสรรพสิ่งเหตุการณ์และผู้คนในมุมมองนี้เห็นว่า  ผู้คน
               ไม่ได้รับรู้สถานการณ์หรือเหตุการณ์ตามที่องค์ประกอบย่อยๆแต่ละส่วนได้ร่วมกันก่อรูปขึ้นแต่จะรับรู้ภาพรวม
               ของสิ่งนั้นๆมากกว่าเรียกว่าเป็น  “dynamic  wholes”  ตัวอย่างเช่นให้นึกถึงเพื่อนสนิทที่สุดคนหนึ่งเมื่อพบ

               กันครั้งสุดท้ายได้รับรู้หรือไม่ว่าเขาหรือหล่อนมีแขนขานิ้วมือและองคาพยพอื่นๆ  ๆบางทีอาจมีได้สังเกตเช่นนั้น
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52