Page 51 - Psychology
P. 51
หน้ า | 48
4. ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision-making Theories)
ทฤษฎีการตัดสินใจ เชื่อว่าผู้คนจะคิดคํานวณต้นทุนและผลกําไรต่อการกระทําต่าง ๆ และเลือกแสดง
วิธีการที่สมเหตุสมผลที่สุดออกมา โดยเขาจะเลือกวิธีการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดขณะที่ลงทุนน้อยที่สุดแก่
ตนเอง จากตัวอย่างเดิมพบว่า นายบุญเชิด ผลทวี ยิงตํารวจแล้วหนีไปพึ่งไอทีวี คือแจ้งให้สื่อมวลชนทราบว่า
ตนยิงตํารวจแทนที่จะเข้ามอบตัวที่สถานีตํารวจ เพราะคิดว่าทีวีสามารถช่วยเหลือ เป็นสื่อกลางสื่อสารไปยัง
ประชาชนในสังคมที่รับสารให้เป็นพยานและเห็นใจตนว่าตนได้ยิงตํารวจบาดเจ็บสาหัสโดยสําคัญผิดใน
ข้อเท็จจริง หากตํารวจจะกระทําวิสามัญตน หรือกระทํารุนแรงด้วยประการใด ๆ ตนก็จะมีประชาสังคมเป็น
พวก เป็นการลงทุนน้อยที่สุด ได้ผลกําไรคุ้มค่าที่สุดในสถานการณ์ที่มีเรื่องกับตํารวจซึ่งเป็นฝ่ายที่จะต้องเป็น
กลางในการให้ความยุติธรรมเบื้องต้นแก่ตน เป็นต้น
เอดเวิร์ด (Edwards, 1954) ได้พัฒนาทฤษฎีการตัดสินใจไปสู่ ทฤษฎีความคาดหมายในคุณค่า
(Expectancy-Value Theory) โดยเพิ่มเติมการประเมินสถานการณ์เข้าไประหว่างการชั่งน้ําหนัก ต้นทุนกําไร
ของบุคคลก่อนตัดสินใจ โดยเชื่อว่าการตัดสินใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลผลิตที่ผสมผสานระหว่างปัจจัยสอง
ประการ คือ 1) ค่าของความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่จะออกมาของทางเลือกแต่ละทาง และ 2) ความเป็นไปได้
หรือความคาดหมายว่าการตัดสินใจแต่ละลักษณะจะให้ผลลัพธ์อย่างไร
บางครั้งการตัดสินใจอาจใช้หลักการคิดอย่างมีเหตุผลสนับสนุน ดังกล่าวมาประกอบการคิดก็ได้
ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจเลือกระหว่างเข้าเรียนมหาวิทยาลัยสองแห่ง เด็กอาจใช้วิธีการจดรายการเหตุผล
ในทางสนับสนุนหรือเหตุผลที่ชอบ (Pros) และเหตุผลในทางหักล้าง หรือเหตุผลแย้ง (Cons) เกี่ยวกับ
มหาวิทยาลัยทั้งสองว่ามหาวิทยาลัยใดจะดีกว่ากัน อย่างไรก็ตามในชีวิตจริงสถานการณ์แต่ละเรื่องไม่อาจใช้
เหตุผลในการตัดสินใจเป็นแนวเดียวกันได้ทุกครั้งไป
5. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchange Theories)
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม ย้ายจากวิธีการวิเคราะห์พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลไปสู่
การวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีความสนใจซึ่งกันและกัน หลักการสําคัญองทฤษฎีนี้
สร้างขึ้นบนพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และทฤษฎีการตัดสินใจ กล่าวคือ การที่คนสองคนสนใจซึ่งกันและกัน
พวกเขาจะต่างคนต่างแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ (Benefits) และการลงทุน (Costs) ซึ่งกันและกัน เช่น นิสิตคน
หนึ่งช่วยติววิชาการเมืองเปรียบเทียบให้เพื่อน เพื่อนก็ช่วยติววิชาภาษาอังกฤษให้ ซึ่งเรียกว่าเป็นผลประโยชน์
ต่างตอบแทน ในปฏิสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันสิ่งนี้สร้างผลกําไรให้เกิดไมตรี ปฏิสัมพันธ์ ความรู้สึกที่ดี และเป็นที่
รักต่อกัน ส่วนทุนที่ลงไปคือ เวลา เป็นต้น และทฤษฎีนี้สนใจการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลบนฐาน
ของการได้ผลประโยชน์ และการลงทุนที่มีต่อกันเป็นสําคัญ ตัวอย่างเช่น นางพยาบาลให้ยาคนไข้อย่างเป็น
กันเอง คนไข้ที่ให้ความร่วมมือก็ได้ประโยชน์จากการกินยา พยาบาลก็ได้ประโยชน์จากคนไข้ที่เชื่อฟังทําให้เห็น
ว่าพยาบาลเป็นพยาบาลที่ทํางานของตนได้ดี เป็นต้น
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคมมีประโยชน์ในการใช้วิเคราะห์สถานการณ์การเจรจาต่อรองระหว่าง
สองฝ่าย ซึ่งมักกระทําได้สําเร็จด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างสมน้ําสมเนื้อ
6. ทฤษฎีบทบาท (Role Theories)
จิตวิทยาสังคมมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีทางจิตวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่ยังอาศัยทฤษฎีทางสังคม
วิทยาในการอธิบายด้วย โดยอาศัยเรื่องของบรรทัดฐาน (Norm) และบทบาท (Role) ในการอธิบายพฤติกรรม
ทางสังคมบางลักษณะ บทบาท คือ สิ่งซึ่งบรรยายให้เห็นส่วนที่แตกต่างกันซึ่งผู้คนแสดงออกในการปฏิสัมพันธ์