Page 46 - Psychology
P. 46

หน้ า  | 43

               สร้างสรรค์  กล้าตัดสินใจ  และติดตามผลเป็นระยะแล้ว  ก็จะถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สําคัญต่อการทํางานของ
               กลุ่มอย่างมาก  ในทางตรงกันข้ามหากผู้นํากลุ่มขาดภาวะการเป็นผู้นําที่ดี  ย่อมจะนําไปสู่การแตกแยกภายใน

               กลุ่มและผลงานก็ล้มเหลวในที่สุด
                      4.  ความเกี่ยวพันระหว่างกลุ่มกับกลุ่ม
                           สัมพันธภาพระหว่างกลุ่ม  2  กลุ่มจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
               กลุ่มบางกลุ่มอาจเป็นมิตรกัน  บางกลุ่มอาจเป็นปรปักษ์กัน  หากเป็นเรื่องของการทํางานบางกลุ่มอาจร่วมมือ

               กันแต่บางกลุ่มอาจแข่งขันกัน  ความสัมพันธ์ระหว่าง  2  กลุ่มจึงเป็นพื้นฐานที่ทําให้สมาชิกทั้ง  2  กลุ่มปฏิบัติ
               ต่อกันอย่างไร  สมาชิกกลุ่มจะยึดกลุ่มของตนเป็นหลัก  สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งทางจิตวิทยาสังคมคือ
               ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม  ซึ่งมักจะพัฒนาไปสู่ความเกลียดชังของสมาชิกระหว่าง  2  กลุ่มได้


               การพัฒนาจิตวิทยาทางสังคม
                       การพัฒนาศาสตร์ทุกแขนงย่อมเริ่มต้นจากจุดของความสงสัย  ใช้ความคิดโดยเสรีเป็นพื้นฐานแล้ว
               ค่อยๆพัฒนามาเป็นความเจริญก้าวหน้าโดยลําดับ  ประวัติการพัฒนาจิตวิทยาสังคมสามารถแบ่งออกเป็น
               3  ยุค คือ (Hollander,1976)

                       1.   ยุคปรัชญาสังคม (Social  Philosophy)เป็นช่วงการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมในลักษณะ
               การศึกษาไม่เป็นระบบนัก  ส่วนใหญ่ใช้การคิดในเชิงเหตุผลหรือตรรกศาสตร์เมื่อมีความสงสัยปรากฏการณ์ทาง
               สังคมที่เกิดขึ้นหรือผลการกระทําของมนุษย์พวกเขาจะคิดหาคําตอบว่าพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร  มนุษย์

               มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไรอะไรน่าจะเป็นสาเหตุของพฤติกรรมนั้นๆมีวิวัฒนาการไปอย่างไรเนื้อหาสาระที่
               ศึกษาในยุคนี้จะออกไปในลักษณะของการอยากรู้อยากเห็นเป็นส่วนใหญ่  แนวคิดที่เป็นเชิงของนักปรัชญา
               สังคม เช่น Plato, Aristotle,  john Locke  และBurkeley เป็นต้น
                       2.  ยุคสังเกตปรากฏการณ์ทางสังคม  ( Social  Philosophy ) เป็นช่วงการศึกษาพฤติกรรมทาง
               สังคมที่พัฒนาขึ้นมา  เป็นการศึกษาที่เน้นตัวเลขและสิ่งที่สัมผัสได้จึงเป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมี

               ระบบ   วิธีการศึกษาในยุคนี้จึงสร้างความมั่นใจและเชื่อถือขึ้นมาอีกระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับการศึกษายุค
               ปรัชญาสังคมแล้วจะแตกต่างกันออกไปตรงที่ว่าในยุคการสังเกตปรากฏการณ์สังคมมีแนวคิดว่าการศึกษาสังคม
               นั้น  ไม่ใช่การนั่งคิดเพียงอย่างเดียวจะต้องออกไปศึกษาปรากฏการณ์สังคมที่เกิดขึ้นจริงๆ โดยมีการสังเกต

               และจดบันทึกอย่างมีแบบแผนสิ่งหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นและนําไปใช้ในการศึกษายุคนี้จะเน้นเรื่องของแบบสอบถาม
               และเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาด้านต่างๆ  เช่นแบบทดสอบวัด  I.Q.  แบบวัดทัศนคติและแบบวัดบุคลิกภาพเป็น
               ต้น
                       3.  ยุควิเคราะห์สังคม  (Social Analysis)เป็นช่วงการศึกษาพฤติกรรมทางสังคม  ยุคนี้พัฒนาขึ้น

               ในราวศตวรรษที่  20  เป้าหมายของการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความรู้อย่างลึกซึ้ง  ข้อมูลการศึกษา
               จึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งถือได้ว่ามีความน่าเชื่อถือได้มากที่สุดผลในการศึกษาในยุคจึงเป็น
               พื้นฐานของการสร้างแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ  ได้อย่างมากมาย
                       รูปแบบการศึกษาจะเป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรมและวิธีการศึกษาที่ใช้คือ  การทดลอง

               การทดลองทางภาคสนาม (Field  Experiment)  และการทดลองในห้องปฏิบัติการ (Laboratory  Experiment)
               ทั้งนี้เพื่อต้องสะท้อนความรู้ออกมาจากข้อมูลให้ได้มากที่สุดและปราศจากตัวแปรเด่นใดๆ  เข้ามาแทรกซ้อน
               ส่วนเครื่องมือที่นํามาใช้ให้เกิดความถูกต้องและแม่นยําก็ได้นําคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ด้วยเช่นกัน
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51