Page 48 - Psychology
P. 48

หน้ า  | 45

               การรับรู้ดังกล่าวย้ําให้เห็นว่าคนเราจะรับรู้ในภาพรวมมากกว่ารับรู้เป็นส่วนๆ ซึ่งรู้จักกันในนามของจิตวิทยา
               เกสตัลต์ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน  หมายถึงรูปร่างหรือรูปทรง  (shape  or  form)

                      แนวทฤษฎีที่สําคัญทั้ง 3 กลุ่มเป็นรากฐานสําคัญที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์  แต่ยังไม่มีทฤษฎี
               เฉพาะใดที่สามารถอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างเป็นสากลและสมบูรณ์เช่นเดียวกับทฤษฎีอะตอมในทาง
               วิทยาศาสตร์  แต่ก็ได้ใช้อธิบายพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์และเป็นฐานในการวิจัยทางจิตวิทยาสังคมทั่วไป


               ทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคมที่ใช้อย่างแพร่หลาย
               1.  ทฤษฎีการเรียน  (learning  theories)
                      ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นทฤษฎีที่มีบทบาทสําคัญสําหรับวิชาจิตวิทยามาเป็นเวลานาน  หลักการสําคัญ
               ของทฤษฎีนี้คือการให้ความสําคัญกับพฤติกรรมของบุคคลซึ่งเกิดจากการเรียนรู้  พฤติกรรมปัจจุบันเกิดจาก

               การเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีตและในสถานการณ์แต่ละเรื่องบุคคลจะได้เรียนรู้พฤติกรรมหนึ่งพฤติกรรมใด
               ผ่านเข้ามาซ้ําแล้วซ้ําเล่าซึ่งหล่อหลอมกลายเป็นอุปนิสัย  และพฤติกรรมเช่นนั้นออกมาในลักษณะเดียวกันจน
               กลายเป็นความเคยชินเช่นเมื่อมีคนขอให้เราจะจับมือเขย่าเพราะเป็นสิ่งที่เราเคยผ่านการเรียนรู้ที่จะโต้ตอบ
               ด้วยการยื่นมือออกไปเมื่อมีผู้ยื่นมือมาขอสัมผัส  เมื่อมีใครบางคนมาพูดจาหยาบคายกับเราเราอาจตอบโต้

               กลับไปอย่างหยาบคายเช่นกันหรือไม่ก็พยายามทําให้คนอื่นเหมือนเราในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่กับสถานการณ์
               เดิมว่าเราเคยผ่านการเรียนรู้วิถีทางเช่นใดมาในอดีต  หลักการดังกล่าวเป็นหลักการที่แบนดูรา  (Albert
               Bandura, 1977)  และคนอื่นๆนํามาใช้กับพฤติกรรมทางสังคมซึ่งเรียกว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม  (social

               learning  theory)
                      กลวิธีที่แพร่หลายซึ่งใช้ในการเรียนรู้  มี 3 ลักษณะคือ
                      1.  ความสัมพันธ์เชื่อมโยง  (association)  หรือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  (classical
               conditioning)  ซึ่งสุนัขของฟาฟลอฟ (Pavlov’s  dogs)  นักจิตวิทยาชาวรัสเซียเรียนรู้ที่จะน้ําลายไหลเมื่อได้
               ยินเสียงกระดิ่ง  เพราะจะได้กินอาหารทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งและต่อมาสุนัขมีอาการน้ําลายไหลเมื่อได้

               ยินเสียงกระดิ่งทั้งๆที่ไม่มีอาหารให้  ทั้งนี้เพราะสุนัขเชื่อมโยงเสียงกระดิ่งกับอาหารเข้าด้วยกันเราสามารถ
               เรียนรู้ที่จะมีทัศนคติต่อสิ่งต่างๆด้วยการเชื่อมโยงเช่นกัน  ดังเช่นคําว่านาซีไปเชื่อมโยงกับอาชญากรรมที่มี
               ความโหดเหี้ยมน่าสะพรึงกลัวความเชื่อว่าพวกนิยมนาซีเป็นคนเลวเพราะเราเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงพวกเขากับ

               ความโหดร้ายทารุณเป็นต้น
                      2.  การเสริมแรง  (reinforcement)  นักจิตวิทยาผู้นําเสนอทฤษฎีนี้คือ  สกินเนอร์  (Skinner)  และ
               คนอื่นๆซึ่งกล่าวว่า  ผู้คนเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาเพราะเขาได้รับสิ่งที่พึงปรารถนาและความพึง
               พอใจตามมา  และหลีกเลี่ยงที่จะแสดงพฤติกรรมที่ได้รับสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาหรือไม่พึงพอใจตามมาเด็กๆ

               เรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเพราะแม่แสดงความชื่นชมเมื่อเด็กแบ่งของเล่นให้เพื่อน  หรือยิ้มให้เมื่อเด็ก
               ช่วยทํางานบ้านเล็กๆน้อยๆหรือนิสิตอาจเรียนรู้ที่จะไม่โต้แย้งอาจารย์ในชั้นเรียนเพราะแต่ละครั้งที่เขาทํา
               เช่นนั้นอาจารย์จะขมวดคิ้วแสดงอาการโกรธและตอบกลับด้วยเสียงอันดังเกินควร เป็นต้น
                      3.  การเรียนรู้ด้วยการสังเกต  (observational  learning)  บ่อยครั้งที่ผู้เรียนรู้ที่จะแสดงทัศนคติ

               และแสดงพฤติกรรมทางสังคมง่ายๆ  ด้วยการสังเกตจากการแสดงทัศนคติและพฤติกรรมทางสังคมของผู้อื่นซึ่ง
               เรียกว่าเป็นตัวแบบ (model)  เด็กๆเรียนรู้ภาษาถิ่นและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยการฟังจากผู้คนที่พูดคุยอยู่
               รอบตัวเขา  ผู้คนวัยหนุ่มสาวเรียนรู้ที่จะมีทักษะทางการเงินอย่างง่ายๆด้วยการฟังการสนทนาของบิดามารดา
               ระหว่างช่วงเวลามีการเลือกตั้งในการเรียนรู้ด้วยการสังเกตคนอื่นๆๆคือบุคคลสําคัญที่จะเป็นแหล่งข้อมูล

               ข่าวสารในการเรียนรู้  การเรียนแบบหรือการจําลองแบบอย่าง   (imitation  or  modeling)  เกิดขึ้นเมื่อ
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53