Page 38 - Psychology
P. 38

หน้ า  | 35

                      2.   Operant Behavior คือพฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กําหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา
               ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจําวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทํางาน ขับรถ

                               การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
               เช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสําคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวาง
               เงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสําคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทําให้เกิด
               การเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย  สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่

               กับผลของการกระทํา คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
                       สกินเนอร์ได้อธิบาย  คําว่า "พฤติกรรม"  ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว  คือ ว่าประกอบด้วย
               องค์ประกอบ 3 ตัว คือ
                      1.  Antecedents คือ  เงื่อนไขนําหรือสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม  (สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน)

               ทุกพฤติกรรมต้องมีเงื่อนไขนํา เช่น วันนี้ต้องเข้าเรียนบ่ายโมง พฤติกรรมเราถูกกําหนดด้วยเวลา
                      2.  Behavior คือ พฤติกรรมที่แสดงออก
                      3.  Consequences หรือผลกรรม  เกิดขึ้นหลังการทําพฤติกรรม เป็นตัวบอกว่าเราจะทําพฤติกรรม
               นั้นอีกหรือไม่  ดังนั้น  ไม่มีใครที่ทําอะไรแล้วไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งเรียกย่อๆ  ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดําเนิน

               ต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนําไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนําไปสู่ผลที่ได้รับ
               ตามลําดับ





















                                              รูปที่ 14 กล่องทดลองของสกินเนอร์


                      สําหรับการทดลองของสกินเนอร์ เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง กล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner
               Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่ม
               โดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา
               ทําให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที

               ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทําเอง
               หลักการและแนวคิดที่สําคัญของสกินเนอร์
                      1.  การวัดพฤติกรรมตอบสนอง
                           สกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจํากัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่าง

               ชัดเจน และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใด
               เวลาหนึ่ง หรือพิจารณาจากอัตราการ ตอบสนอง (Response rate) นั่นเอง
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43