Page 30 - Psychology
P. 30

หน้ า  | 27

               ผลการศึกษาของเขาได้สรุปบุคลิกภาพของบุคคลที่สามารถไปถึงขั้นสูงสุดตามความปรารถนาของตนหรือ
               ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (self actualization) ไว้ทั้งสิ้น 15 ประการ ดังนี้

                         1)  มองโลกและสถานการณ์ต่างๆ ตามความเป็นจริง
                         2)  ยอมรับจุดเด่นและจุดด้อยของตน
                         3)  มีความเป็นธรรมชาติอยู่ในตัวโดยไม่ได้เสแสร้ง
                         4)  มองปัญหาที่ตัวปัญหา ไม่ใช่มองที่ตนเองเป็นศูนย์กลางในการมองปัญหา

                         5)  ถือสันโดษ รักความเป็นส่วนตัว และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
                         6)  เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ และไม่ยึดติดกับตัวบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมจนเกินไป
                         7)  รักและชื่นชมกับชีวิต โดยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายหรือท้อแท้สิ้นหวัง
                         8)  เอาใจใส่สังคมและรักเพื่อนมนุษย์

                         9)  มีจิตใจและแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตย
                         10) ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง
                         11) มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับคนทั้งหลาย
                         12) มีอารมณ์ขันที่เหมาะสม

                         13) มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์
                         14) ดื่มด่ํากับความล้ําลึกทางธรรมชาติ
                         15) ยอมรับวัฒนธรรมและประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยสามารถผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมและ

                             ประสบการณ์เดิมของตนเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
                         จากทฤษฎีทั้งสองของกลุ่มมนุษยนิยมที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่ากลุ่มมนุษยนิยมจะเน้น
               ความสําคัญเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลว่าเกิดจากความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง
               ทั้งนี้เพราะมนุษย์มีคุณค่า มีสติปัญญา ใช้เหตุผล และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง  ไม่ใช่เกิดจาก
               ความขัดแย้งหรือการสร้างความสมดุลของพลังทางจิต เช่น แนวคิดของกลุ่มเคลื่อนไหวทางจิต หรืออาศัย

               การวางเงื่อนไขและการเสริมแรง เช่น ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทําให้ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยมจึงได้รับ
               ความสนใจอย่างกว้างขวางในวงการจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่ง


               3. ทฤษฎีบุคลิกภาพโดยแบ่งตามประเภท (Type Theories)
                       สําหรับแนวคิดในการอธิบายบุคลิกภาพของมนุษย์โดยวิธีการจัดแบ่งตามประเภท (type) ของ
               โครงสร้างทางร่างกายนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณแล้ว สําหรับในปัจจุบันนักจิตวิทยาที่ใช้การแบ่งบุคลิกภาพ
               ตามประเภทนั้นได้แก่

                       3.1 ทฤษฎีของเชลดอน (Sheldon Theory) ผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ได้แก่ วิลเลียม เชลดอน (William
               Sheldon) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่ได้ทําการศึกษาบุคลิกภาพโดยพิจารณาโครงสร้างของร่างกายจาก
               นักศึกษาจํานวนนับพันๆ คน จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างทางร่างกายของมนุษย์ไว้ 3 ประเภท และแต่ละ
               ประเภทก็ต่างก็มีบุคลิกภาพเฉพาะของตน ดังนี้

                           1) ประเภทอ้วนเตี้ย (endomorphy) มีบุคลิกภาพร่าเริง  มีอารมณ์ขันชอบสนุกสนาน
               ชอบสบาย รับประทานอาหารจุกจิก  เสียงดัง  โกรธง่ายหายเร็ว
                           2) ประเภทสมส่วน (mesomorphy) มีบุคลิกภาพแข็งแรง  มีกําลังมาก  กระฉับกระเฉง  ว่องไว
               ชอบกีฬา  รักการผจญภัย  กล้าหาญ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35