Page 29 - Psychology
P. 29

หน้ า  | 26

                       2.2  ทฤษฎีบุคลิกภาพของมาสโลว์ (Maslow’s Theory)ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ ได้แก่ อับราฮัม มาสโลว์
               (Abraham Maslow; 1908-1970) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายยิว ผู้ก่อตั้งทฤษฎีมนุษยนิยมจนมีชื่อเสียง

               และได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวาง จนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตวิทยามนุษยนิยม
                       มาสโลว์ได้เริ่มต้นในการเป็นอาจารย์ผู้สอนในภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (Wisconsin
               University) ในปี ค.ศ. 1930 ต่อมาภายหลังจึงย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)
               หลังจากนั้นจึงรับตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบรูกลิน (Brooklyn University) และ

               มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) ตามลําดับ ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กนี้เองที่ทําให้มาสโลว์ได้พบ
               กับนักจิตวิทยาชั้นนําหลายท่านที่หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มายังสหรัฐอเมริกา เช่น อีริก ฟรอมม์ (Erich
               Fromm) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) คาเรน ฮอร์นีย์ (Karen Horney)  แมกซ์ เวอร์ไธเมอร์ (Max
               Wertheimer) เป็นต้น ทําให้มาสโลว์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านจิตวิทยากับนักจิตวิทยาที่มี

               ชื่อเสียงเหล่านี้ และเป็นพื้นฐานสําคัญต่อแนวความคิดของทฤษฎีมนุษยนิยมในเวลาต่อมาจนกระทั่งในปี
               ค.ศ. 1951 มาสโลว์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานของคณะจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยแบรนไดส์ (Brandeis
               University) และหลังจากนั้นไม่นานจึงได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาในที่สุด

                       แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพของบุคคลนั้น มาสโลว์เชื่อว่าปัจจัยสําคัญอยู่ที่ธรรมชาติของ

               มนุษย์ในความปรารถนาที่ต้องการจะพัฒนาตนเองเพื่อให้ถึงจุดสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคนเพื่อความเป็น
               มนุษย์โดยสมบูรณ์ (self actualization) ดังนั้น ความปรารถนาหรือความต้องการของบุคคลนี้เองที่ก่อให้เกิด
               แรงจูงใจในตัวบุคคลขึ้น ซึ่งมาสโลว์ถือว่าเป็นหัวใจสําคัญในทฤษฎีบุคลิกภาพของเขา โดยมาสโลว์อธิบายว่า
               ความปรารถนาหรือความต้องการเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กําเนิด โดยความต้องการเหล่านั้นจะต้อง

               เป็นไปตามลําดับขั้นไม่มีการข้ามชั้น เมื่อความต้องการในขั้นหนึ่งขั้นใดได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว
               ความต้องการในขั้นสูงลําดับต่อไปจึงเกิดขึ้น ในทางกลับกัน ถ้ายังไม่ได้รับความพอใจจะแสดงพฤติกรรม
               การแสวงหาในขั้นนั้นต่อไปเรื่อย ๆ มาสโลว์ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกไว้เป็น 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

                         1)  ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs)
                         2)  ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย (safety needs)
                         3)  ความต้องการความเป็นเจ้าของและความรัก (belongingness and love needs)
                         4)  ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (esteem needs)
                         5)  ความต้องการที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (self actualization needs)

                         สําหรับรายละเอียดเกี่ยวกับความต้องการทั้ง 5 ลําดับขั้นนั้น ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 6 เกี่ยวกับ
               เรื่องแรงจูงใจ
                         ดังที่กล่าวในตอนต้นแล้วว่าบุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวความคิดของมาสโลว์นั้น

               จะเกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการจะพัฒนาตนเองให้บรรลุจัดสูงสุดแห่งความปรารถนาแห่งตนเพื่อ
               ประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม  แต่ในการที่เขาจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้นั้นบุคคลจะต้องประจักษ์ในศักยภาพที่
               แท้จริงของตนเองเสียก่อน นอกจากนี้การที่บุคคลจะผ่านความต้องการของตนแต่ละขั้นได้ หรือขัดขวาง
               ความต้องการในแต่ละขั้น จะมีผลทําให้พัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในขั้นนั้น ๆ ถูกขัดขวางไปด้วย

               ในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งแวดล้อมของบุคคลได้ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และสามารถตอบสนองความต้องการ
               แต่ละขั้นได้อย่างเหมาะสมแล้ว บุคลิกภาพของบุคคลนั้นจะสามารถพัฒนาถึงขั้นสูงสุดตามความประสงค์
               มาสโลว์ได้ทําการศึกษาชีวประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทางสังคมในหลาย ๆ ด้าน เช่น บุคคล
               ระดับผู้นําประเทศ นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ เพื่อค้นหาว่าคนเหล่านี้มีบุคลิกภาพอย่างไรบ้างที่มีความ

               คล้ายคลึงร่วมกันอยู่ เช่น โธมัส เจฟเฟอร์สัน, อีลีเนอร์ รุสเวลต์, อับราฮัม ลินคอร์น และจอร์จ วอชิงตัน
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34