Page 12 - Psychology
P. 12
หน้ า | 9
รูปที่ 6 ทารกจะเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยประสาทสัมผัส ตามทฤษฎีของเพียเจต์
ในขั้นประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (ที่มา : Rubin; 1981)
4 เดือน เด็กจะแสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ดูดมือ ไข่วคว้าโดยไม่
จุดมุ่งหมาย
8 เดือน เด็กจะให้ความสนใจสิ่งที่มีการเคลื่อนไหว โดยการมองและเคลื่อนตาตาม นอกจากนี้
ยังพฤติกรรมซ้ํา เช่น กําๆ แบๆ จับ ดึง เป็นต้น ขั้นนี้เรียกว่า Primary Circular Reaction
- 1 ปี เด็กจะแสดงพฤติกรรมซ้ําๆเพื่อทดลองว่าจะเกิดผลอย่างไร เช่น เขย่าของเล่น ใช้เท้าเขี่ย
สิ่งของใกล้ตัว คว้าของที่อยู่รอบๆ ตัว เป็นการแสดงพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายที่ต้องต้องการเห็น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าเด็กวัยนี้เริ่มที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างมีเป้าหมายแล้ว ระยะนี้
เรียกว่า Secondary Circular Reaction
- 1 ปี 4 เดือน เด็กจะเริ่มรู้จักการแก้ปัญหาง่ายๆ โดยอาศัยการเรียนรู้จากพฤติกรรมในอดีตมา
ช่วยในการแก้ปัญหา เช่น ผลักหมอนเพื่อหาของเล่นที่ซ่อนอยู่ข้างได้ จะเห็นว่าจะแตกต่างไปจากระยะ 1 ปีที่
ผลักหมอนเพื่อจะดูหมอนล้มเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถแยกสิ่งที่ตนต้องการและไม่ต้องการออกจากกันได้
รวมทั้งเลียนแบบพฤติกรรมง่ายๆ จากบุคคลรอบข้าง ดังนั้นพฤติกรรมในขั้นนี้จึงเป็นเครื่องมือเพื่อช่วย
แก้ปัญหาให้กับต้นเป็นส่วน ระยะนี้เรียกว่า Coordination of Secondary Reaction
- 1 ปี 8 เดือน เป็นระยะที่เด็กเริ่มแสดงพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก (trial and error) โดย
ทดลองแสดงพฤติกรรมใหม่ๆหลายๆแบบเพื่อดูผลของพฤติกรรมนั้นด้วยความสนใจ ซึ่งในขั้นนี้จะต่างไปจาก
ระยะที่ผ่านมาที่ไม่เพียงแต่สนใจพฤติกรรมซ้ํา ๆเท่านั้น แต่จะพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่ๆเสมอเป็น
ลักษณะของความคิดริเริ่มในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สําคัญของเชาวน์ปัญญา ระยะนี้เรียกว่า
Tertiary Circular Reaction 2 ปี เป็นพัฒนาการของเชาน์ปัญญาระดับสุดท้ายของขั้น Sensorimotor
เด็กวัยนี้จะมีความสามารถในการค้นคิดวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาขึ้นภายในใจ เด็กจะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งได้ ในระยะนี้ถ้าเด็กประสบกับปัญหาใหม่ที่ตนยังไม่เคยแก้ไขมาก่อน จะรู้จักวิธีการค้นหา
วิธีการแก้ปัญหาใหม่ขึ้นมาเองได้ วิธีที่เด็กคิดขึ้นนั้นไม่เพียงแต่เป็นการลองผิดลองถูกเท่านั้น แต่เป็นการแสดง
ให้เห็นถึงการเกิดการหยั่งเห็น (insight) ในตัวเด็กอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเลียนแบบพฤติกรรมของ
ผู้ใหญ่และเรียนรู้ความสัมพันธ์ขอสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ระยะนี้เรียกว่า Investion of New
Means Through Mental Combination