Page 10 - บทที่9-60
P. 10
2.2 Embolism
หมายถึง ก้อนที่หลุดออกจากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งแล้วไปอุดตันอีกอวัยวะหนึ่งที่ไกลออกไป โดย
ไม่ได้บ่งบอกถึงส่วนประกอบของก้อนนั้นซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้สาเหตุของการเกิด embolism ที่พบได้บ่อยที่สุด
คือ cardiac mural thrombi โดยการเกิด embolism ดังกล่าวมักสัมพันธ์กับความผิดปกติของหัวใจ คือ โรค
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) โรคของลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) และการเต้นของ
หัวใจผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation ซึ่งภาวะนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแข็งตัวของเลือดขึ้นที่ผนัง
ของหัวใจและอาจหลุดออกไปอุดในต าแหน่งที่ไกลออกไป สาเหตุอื่นของ embolim เช่น ก้อนชิ้นเนื้อ ก้อน
ไขมัน ฟองอากาศ (air embolism) การอุดตันของหลอดเลือดในสมองอันเนื่องมาจาก embolism มักพบใน
หลอดเลือด middle cerebral มากที่สุด
รูปที่ 6 แสดงความแตกต่างระหว่าง Thrombosis และ Embolism แหล่งที่มา http://healthosphere.com
ความแตกต่างอาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่เกิดจาก 2 สาเหตุดังกล่าวอาจแยกได้จากหากเป็นการ
อุดตันแบบ thrombosis ผู้ป่วยจะค่อยๆ มีการด าเนินอาการของความผิดปกติเนื่องจากก้อนเลือดค่อยๆ มี
การแข็งตัว สามารถมีการด าเนินโรคที่แย่ลงไปกว่าเดิมได้ (progression) เนื่องจากมีการแข็งตัวของเลือดที่
เพิ่มมากขึ้น ขณะที่หากเป็นการอุดตันแบบ emboli ผู้ป่วยจะมีอาการสูงสุด ณ จุดเวลาของการอุดตันทันที
และจะคงสภาพเท่าๆ เดิม (maximum at onset) เป็นต้น
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560