Page 12 - บทที่9-60
P. 12
เลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage)
ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับอุบัติเหตุ (nontraumatic or
spontaneous cause) ที่ส าคัญที่สุดซึ่งท าให้เกิดภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง มักพบในวัยผู้ใหญ่มีอุบัติการณ์
สูงสุดเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไปเนื่องจากลักษณะของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจะมีความ
เปราะบางจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแตกของหลอดเลือดได้ง่าย นอกจากนี้ในสภาวะที่มีความดันโลหิตสูง
เป็นเวลานานๆ จะสัมพันธ์กับการเกิดหลอดเลือดโป่งพอง เรียกว่า Charcot-Bouchard aneurysm สาเหตุ
อื่นๆ เช่น ความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด การสะสมของสารชนิด amyloid ภายในผนังของ
หลอดเลือด (amyloid angiopathy) การอักเสบของหลอดเลือด ความผิดปกติของหลอดเลือด (vascular
malformation) เป็นต้น บริเวณที่พบว่ามีภาวะเลือดออกของสมองได้บ่อย คือ putamen, thalamus, pons
และ cerebellar hemisphere ตามล าดับ อาการแสดงทางคลินิกขึ้นกับต าแหน่งของบริเวณที่เกิดรอยโรค
การแตกของหลอดเลือดโป่งพอง (Ruptured Berry (saccular) aneurysm)
Berry aneurysm (saccular aneurysm, congenital aneurysm) เป็นการโป่งพองของหลอด
เลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในระบบประสาท การแตกของ Berry aneurysm พบบ่อยเป็นอันดับ 4 ของโรคหลอด
เลือดสมองรองลงมาจาก atherosclerotic thrombosis, embolism และภาวะความดันโลหิตสูง ประมาณร้อย
ละ 90 ของ Berry aneurysm จะเกิดที่ anterior circulation และมักพบที่บริเวณที่มีการแตกแขนงของหลอด
เลือด การแตกของหลอดเลือดโป่งพองชนิดนี้มักพบในช่วงอายุ 40-50 ปี ระยะที่พบว่ามีการแตกบ่อยที่สุด
คือ ช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในกะโหลกศีรษะอย่างรวดเร็วจากสาเหตุต่างๆ ส่วนสาเหตุที่แท้จริง
ของหลอดเลือดโป่งพองชนิดนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบเพิ่มขึ้นในกลุ่มโรคที่มีถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น
autosomal dominant polycystic kidney disease, neurofibromatosis และ Marfan’s syndrome การสูบบุหรี่
และความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการโป่งพองของหลอดเลือดชนิดนี้
หลอดเลือดผิดรูป (Vascular malformation)
ความผิดปกติทางรูปร่างของหลอดเลือดภายในระบบประสาท ได้แก่
Arteriovenous malformation (AVM)
เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการคือ ชัก หรือมีเลือดออกในเนื้อสมองและใน
subarachnoid space มักมีอาการในช่วงอายุ 10 ถึง 30 ปี ลักษณะของรอยโรคจะพบว่าหลอดเลือดมีการ
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560