Page 13 - บทที่9-60
P. 13
ขยายตัวร่วมกับมีรูปร่างผิดปกติเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดด า ท าให้เลือดแดงไม่ผ่าน
หลอดเลือดฝอยแต่ผ่านเข้าหลอดเลือดด าโดยตรง ท าให้ความดันภายในหลอดเลือดด าสูงขึ้นมากท าให้มี
ความเสี่ยงต่อการแตกของผนังหลอดเลือด มักพบบริเวณหลอดเลือดแขนงของหลอดเลือด middle
meningeal
Cavernous angioma (hemangioma)
มักพบที่ cerebellum, pons และ subcortical area พยาธิสภาพคือมีหลอดเลือดหลายๆ ขนาด
รวมกลุ่มกันอยู่ในบริเวณรอยโรค
ความผิดปกติอื่นๆ ที่พบบ่อยทางคลินิก
Lacunar infarction
เป็นภาวะเนื้อตายของเนื้อสมองที่มีขนาดเล็กๆ ไม่เกิน 10-15 มิลลิเมตร มักอยู่ในบริเวณ
subcortical ได้แก่ white matter และ basal ganglia สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดชนิด
arteriole เรียก arteriolar sclerosis
Hypertensive encephalopathy
เป็นกลุ่มอาการทางคลินิก เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงอย่างมาก หากเกิดขึ้นอย่าง
เฉียบพลันและรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดศีรษะ สับสน อาเจียน และชัก พยาธิสภาพที่พบคือ มีการบวม
ของเนื้อเยื่อสมองอย่างมาก มีจุดเลือดออก ร่วมกับมีการตายของเนื้อเยื่อแบบ fibrinoid necrosis ของผนัง
หลอดเลือด ในกลุ่มที่เป็นไม่รุนแรงและมีการด าเนินโรคที่ยาวนานจะท าให้เกิดพยาธิสภาพของผนังหลอด
เลือด ได้แก่ atherosclerosis, thrombosis และ arteriolar sclerosis ท าให้เกิดภาวะเนื้อตายกระจายอยู่ทั่วไป
ทั้งใน white และ gray matter
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
โดยทั่วไปสามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงที่ท าให้เกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่
1) ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย
อายุ เนื่องจากความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้แปรผันโดยตรงกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560