Page 10 - 02_สทธมนษยชนกบการปฏบตงานของตำรวจ_Neat
P. 10

๓




                 เกี่ยวพันกับความถูกตอง ความดีงาม และศีลธรรม ภายหลังไดถูกทาทายจากนักปรัชญาอยาง เจเรมี
                 เบนแธม (Jeremy Benthanm, ๑๙๗๔-๑๘๓๒) วาสิทธิธรรมชาตินั้นเปนเรื่องไรสาระ   ๒

                            ยุคกรีกมีการกลาวอางถึงความเปนมนุษยและความเสมอภาคของมนุษยไมนอย
                 จากนักคิดชั้นนํา เชน ในทัศนะของ เพลโต (Plato, ๔๒๗-๓๔๗ B.C.) นักปรัชญาที่วางรากฐาน

                 ทางการศึกษาในแขนงวิชาตางๆ ทั้งการปกครอง วิทยาศาสตร และดาราศาสตร มองวาความตองการ
                 ของคนในรัฐมีความสําคัญ แตในทางปฏิบัติสังคมกรีกขณะนั้นชนชั้นนําและนักปราชญกลับมีความสําคัญ

                                                                                            ๓
                 สูงสุดเหนือคนทั่วไปและเขาเหลานี้ควรเปนผูปกครองและไดรับผลตอนแทนที่มากกวา  หรือนักปราชญ
                 ชื่อกองโลกอยาง อริสโตเติล (Aristotle, ๓๒๒-๒๘๔ B.C.) กับผลงานสําคัญของเขา “Politics”

                 เนื้อหาตอนหนึ่งระบุดังนี้ “...a person becomes slave of free only by law, human beings do
                 not differ at all by the nature of mankind...”  [คนจะเปนทาสหรือเสรีชนก็โดยกฎหมายเทานั้น
                                                              ๔
                 เพราะโดยธรรมชาติของมนุษยแลวทุกคนไมแตกตางกัน] อริสโตเติลใหความสําคัญกับกฎหมาย
                 และเชื่อวาโดยธรรมชาติแลวมนุษยทุกคนไมแตกตางกัน แตในทางการปกครอง เขากลับเชื่อวาคนทั่วไป

                 ไมสมควรเปนผูปกครอง แตชนชั้นกลางตางหากที่เหมาะสมกับการทําหนาที่ดังกลาว

                            อยางไรก็ดี ถึงแมชวงนี้ไดปรากฏปรัชญาวาดวยสิทธิเสรีภาพของมนุษยและการใหคุณคา
                 กับชีวิตมนุษยบางแลว ทวาในทางปฏิบัตินั้น คุณคาในชีวิตขึ้นอยูกับ “ฐานะทางสังคม” ยิ่งมีฐานะดี
                 ยิ่งอยูในสถานะที่ชีวิตมีคุณคาเหนือผูอื่น ชนชั้นจึงเปนตัวกําหนดความสําคัญชีวิตมนุษยแตละคน

                 ผลสรุปจากการศึกษางานหลายชิ้นเกี่ยวกับโครงสรางสังคมของกรีก (Ancient Greek’s Social

                 struycture) สะทอนถึงการแบงแยกผูคนออกเปนชนชั้นตางๆ อันประกอบดวย
                            (๑)  ชนชั้นสูง (Best people) มีอํานาจการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ไดรับการดูแล

                 ที่ดีที่สุดจากรัฐ เปนพลเมืองเต็มขั้นของนครรัฐ
                            (๒)  ชนชั้นกลาง (Middle class) กลุมคนที่พอจะครอบครองที่ดินไดบาง หรือเปน

                 ที่ดินในเขตหางไกล มีความเปนพลเมืองของกรีก (Citizenship) แตไมไดรับการดูแลหรือมีอภิสิทธิ์
                 ใดมากนัก กลุมพอคาจากตางแดนผูสะสมรายไดจากเมืองใหญจนกลายเปนชนชั้นกลาง, ทหาร,

                 ชางฝมือดานตางๆ





                 ๒  อางถึงใน Jonathan Crowe, “Explaining Natural Rights : Ontological Freedom and the Foundations of Political
                  Discourse,”  New York University Journal of Law and Liberty 4(70) (2009), สืบคนเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙, จาก
                   http://www.law.nyu.edu/sites/ default/files/ECM_PRO_061928.pdf
                 ๓  “Western Theories of Justice,” Internet Encyclopedia of Philosophy, สืบคนเมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙, จาก http://www.iep.
                  utm.edu/justwest/#SH1a
                 ๔  Ciobota Eugen, “Evolution of the human rights concept,” 1 December 1918 University, สืบคนเมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙,
                   จาก http://www.uab.ro/reviste_recunoscute/reviste_drept/onnales_10_2007/ciobotea_en.pdf
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15