Page 11 - 02_สทธมนษยชนกบการปฏบตงานของตำรวจ_Neat
P. 11

๔




                         (๓)  ชนชั้นทาส (Slaves) ซึ่งไมมีสิทธิใดๆ ในชีวิตเลย นายทาสอาจไดมาจากสงคราม
              ซื้อขาย หรือจากการเปนอาชญากร

                         ชนชั้นลางอยาง “ทาส” จึงมีชีวิตที่ถูกกําหนดโดยผูอื่น หากมีแรงที่จะทํางานใหนายทาสได
              ก็ยังจะมีอาหารและที่หลับนอนให แตเมื่อใดไมสามารถทํางานใหไดก็มักถูกขายจําหนายไป มีชีวิตแบบ

              ที่ไมสามารถเลือกหรือกําหนดเองได ความเชื่อที่วาตนเองเกิดมาพรอมกับสิทธิในชีวิตที่ติดตัวมาไมอยู
              ในหวงความคิดของทาสเหลานั้น จึงไมเกิดคําถามหรือการตอตาน เพียงแตใชชีวิตเรื่อยไปตามคําสั่ง ๕

                         ยุคสําคัญตอมาอยางสมัยแหงอาณาจักรโรมัน แมจะมีแนวคิดจากนักปราชญที่เสนอ
              ความคิดอันสะทอนถึงความสําคัญของสิทธิ เสรีภาพ อยาง ซิเซโร (Cicero, ๑๐๖-๔๓ B.C.)

              นักกฎหมาย นักการเมือง และนักปรัชญาชาวโรมัน ผูที่ไดชื่อวาวางรากฐานคําวา “กฎหมายธรรมชาติ”
              (Natural Law) ก็เชื่อมั่นอยางแนวแนในตัวของประชาชน กฎหมายที่แทจริงตองสอดคลองกับ

                                                       ๖
              หลักธรรมชาติ (Harmonious with nature)  โดยประโยคที่ถูกกลาวอางถึงอยางมากจากงานเขียน
              ชื่อ “The Laws” ของเขาก็คือ

                                      “True law is right reason in agreement with nature; it is of universal

                                     application, unchanging and everlasting... And there will not
                                     be different laws at Rome and at Athens, or different laws now
                                     and in the future, but one eternal and unchangeable law will

                                     be valid for all nations and all times...”  [กฎหมายที่แทจริงคือ
                                                                                   ๗
                                     เหตุผลที่ถูกตอง กลมกลืน สอดคลองกับธรรมชาติ แผซานในทุกสิ่งทุกอยาง
                                     สมํ่าเสมอนิรันดร...กฎหมายเหลานี้ไมเปนอยางหนึ่งที่กรุงโรมหรือเปนอีก

                                     อยางหนึ่งที่เอเธนส ไมเปนอยางหนึ่งในขณะนี้หรืออีกอยางในเวลาตอมา
                                     แตเปนกฎหมายประการเดียวที่เปนนิรันดรไมเปลี่ยนแปลงและมีผลผูกพัน

                                     ทุกชาติทุกภาษาตลอดกาล”]  ๘



              ๕  นักปรัชญาคนสําคัญในยุคกรีกอยางเพลโตและอริสโตเติลก็ไมไดมีแนวคิดที่สนับสนุนความเทาเทียม เชน เพสโตถึงจะเชื่อมั่นในความรู
                แตก็มีเฉพาะชนชั้นนําเทานั้นที่สามารถเขาถึงความรู เขาสนับสนุนคนกลุมเล็กๆ ที่เปนชนชั้นนํามาเปนผูปกครอง หมายถึง การปกครองที่มา
                จากกลุมบุคคลเฉพาะกลุม นั่นคือ ทหารและชนชั้นนํา สวนอริสโตเติลก็ไมเชื่อมั่นในคนหมูมาก ยกยองใหความสําคัญกับกลุมบุคคลชั้นสูง
                เปนหลักเห็นไดวา เขาเห็นวาการปกครองที่ดี คือ การปกครองในแบบที่กษัตริยแตผูเดียวเปนผูปกครอง (Monarchy) แบบอภิชนาธิปไตย
                (Aristocracy) ที่ใหคณะขุนนางเปนผูปกครอง และแบบโพลิตี้ (Polity) ที่ใหชนชั้นกลางเปนผูปกครอง
              ๖  “Cicero (106-43 B.C.E.),” Internet Encyclopedia of Philosophy, สืบคนเมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙, จาก http://www.iep.utm.edu/
               cicero/#SH7c
              ๗  America’s Party National Committee, “Cicero: True law is right reason in agreement with nature,” สืบคนเมื่อ ๓ ตุลาคม
                ๒๕๕๙, จาก http://www.selfgovernment.us/news/cicero-true-law-right-reason-in-agreement-with-nature
              ๘  วราพร ศรีสุพรรณ, “ประชาธิปไตยแบบสังคมเครือขายและการศึกษาแบบปฏิรูปนิยม”, สืบคนเมื่อ ๓ ต.ค. ๒๕๕๙, จาก http://kpi.ac.th/
               media/pdf/M7_180.pdf
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16