Page 15 - 02_สทธมนษยชนกบการปฏบตงานของตำรวจ_Neat
P. 15

๘



              (Modern Europe) การกลับมาของความเชื่อมั่นในตัวมนุษยทําให “สิทธิธรรมชาติ” ไดรับการอางถึง

              อีกครั้ง
                              ฮิวโก  โกรเทียส (Hugo Grotius, ๑๕๘๓-๑๖๔๕) บรมครูทางกฎหมายของเนเธอรแลนด

              เชื่อวามนุษยมีเหตุผลที่ถูกตองในการกระทําของตน [people have a “right reason” for doing
              things.] หรือนักคิดที่มีชื่อเสียง อาทิ โธมัส ฮอบส (Thomas Hobbes, ๑๕๘๘-๑๖๗๙), จอหน ล็อค

              (John Locke, ๑๖๓๒-๑๗๐๔) และเอ็มมานูเอ็ล คานท (Immanuel Kant, ๑๗๒๔-๑๘๐๔)
              ก็มีทัศนะสนับสนุน “สิทธิธรรมชาติ” วาคนเรานั้นมีสิทธิพื้นฐานบางอยางติดตัวเรามานับแตเราถือกําเนิด

              สิทธิที่วานี้เปนสากล (Universal rights) ที่ทุกคนมีและไมสามารถแบงหรือโอนใหแกกันได
                                  ๑๖
              (Inalienable rights)  ผสานเขากับแนวคิดมนุษยนิยม (Humanism) ที่เชื่อในศักยภาพของมนุษย
              ซึ่งไปไกลกวาความคิดที่ไมชัดเจนของ “สิทธิธรรมชาติ” ยิ่งไปกวานั้น มนุษยนิยมยังมองไปถึงความสามารถ
              ของมนุษยในการพัฒนาตนเองในหลากหลายดาน เชน ศิลปะ ดนตรี ภาษา ชางฝมือ วิทยาศาสตร

              ระบบการศึกษาในยุคนี้จึงเนนที่การพัฒนาคน และใหความสําคัญกับ “ปจเจกบุคคล”
                         (๓)  การรูแจง (The Enlightenment)

                              เมื่อคนรูสึกวาตนเองมีคุณคาและมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองแลว นั่นเองที่ทําใหมนุษย
              ใชสติปญญานําไปสูการหาคําตอบใหกับสิ่งรอบตัว การรูแจงเกิดมาพรอมกับการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร

              จนมีวิวัฒนาการในทุกดาน  ไมวาจะเปนดานวิทยาศาสตร ดาราศาสตร คณิตศาสตร การแพทย ภูมิศาสตร
                             ๑๗
              กฎหมาย ปรัชญา  ความสนใจในการเรียนรูขยายวงกวาง ความตองการแรงงานที่ชํานาญเฉพาะดาน
              ทําใหชวงนี้เกิดการตั้งมหาวิทยาลัยจํานวนมากทั่วภาคพื้นยุโรป  การกระจายขององคความรู
                                                                          ๑๘
              อยางมีเหตุและผลทําไดงาย รวดเร็ว และกวางขวาง

                              การอธิบายปรากฏการณตางๆ อยางมีเหตุมีผลสงผลตอสังคมในชวงยุคสมัยนั้น
              อยางมาก ในแงสังคมเกิดสังคมอุตสาหกรรม ชุมชนเมือง ผูคนมีความหลากหลาย มีความรูเชิง

              ประจักษมากขึ้น มนุษยอยากมีความสุขกับปจจุบัน ไมใชโลกหนาในนามของพระเจา ในเชิงเศรษฐกิจ
              การพัฒนาวิทยาศาสตรทําใหการผลิตทําไดงายขึ้น เกิดการเดินทาง การคาขายแลกเปลี่ยนอยางคึกคักใน

              ทางการเมืองเองก็เกิดความคิดเกี่ยวกับเสรีภาพ และความเสมอภาค การเคารพสิทธิพื้นฐานของมนุษย
              และระบอบการปกครองที่เปนธรรม    ๑๙





              ๑๖  “Human Rights Philosophies,” Op.cit.
              ๑๗  นักวิทยาศาสตรที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งของยุคนั้นคือ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei, ๑๕๖๔-๑๖๔๒) เขาพยายามเปลี่ยนแนวคิด
                ใหมวาดวงอาทิตยเปนศูนยกลางของจักรวาล (สนับสนุนแนวคิดของโคเปอรนิคัส) ซึ่งขัดแยงกับการตีความตามพระคัมภีรที่เชื่อวาโลกเปน
                ศูนยกลางของจักรวาล นําความเดือดรอนมาใหกับเขาเอง ทั้งตองถูกกักขังและถูกกลาวหาวาเปนพวกนอกรีตตอตานคําสั่งสอนของศาสนา
              ๑๘  “Renaissance.” Encyclopedia.com, สืบคนเมื่อ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙, จาก http://www.encyclopedia.com/literature-and-arts/
               language-linguistics-amd-literary-terms/literature-general/renaissance
              ๑๙  “Enlightenment,” Stanford Encyclopedia of Philosophy (๒๐ August ๒๐๑๐), สืบคนเมื่อ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙, จาก https://plato.
               stanford.edu/entries/enlightenment/
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20