Page 12 - 02_สทธมนษยชนกบการปฏบตงานของตำรวจ_Neat
P. 12
๕
ในสวนของโครงสรางสังคม การแบงชนชั้นเปนความจําเปนพื้นฐาน และมีความสําคัญยิ่ง
ตอรัฐ งานเขียนหนึ่งของนักเขียนในยุคนั้นกลาวไววา
“In Rome-and across the empire-status mattered” [ในโรม-และทั่วอาณาจักร-
๙
สถานภาพมีความสําคัญ]
อีกทั้งมีการแบงแยกชัดเจนระหวางพลเมือง (Citizens) กับบุคคลที่ไมใชพลเมืองโรมัน
(Noncitizens) หากจะแบงยอยลงไปอีกก็อาจแบงเปนคนซึ่งมีอิสระ (Free men) กับทาส (Slaves)
แนนอนการไดรับการดูแล ปฏิบัติ และอภิสิทธิ์ทั้งหลายยอมแตกตางกันไปตามสถานภาพที่เปนอยู
ทาสทํางานรับใชเจาของในฐานะเจาชีวิตของพวกเขา ซึ่งคือสภาพอันปกติของชีวิตที่กําหนดเองไมได
ของทาสในยุคนั้น
“Slave labour was used in all areas of Roman life except public office” ๑๐
[แรงงานทาสถูกใชในทุกกิจกรรมของชาวโรมัน ยกเวนงานของทางราชการ]
จะเห็นไดวาแม “บุคคล” จะมีความสําคัญขึ้นในทัศนะของนักคิดทรงอิทธิพลทั้งยุคกรีก
และโรมันและเริ่มใหความสําคัญกับสิทธิบางอยางในนาม “สิทธิธรรมชาติ” ที่ทุกคนมีเทาๆ กัน นับแต
ถือกําเนิด แตเอาเขาจริงแลวในทางปฏิบัติ “บุคคล” ที่วานั้น ไมไดหมายถึง “ทุกคน” แตเปน “บุคคล
บางประเภท” ที่ถูกนิยามวามีคุณคามากกวาสิ่งมีชีวิตอื่น
ถึงกระนั้น ควรบันทึกดวยวาทามกลางความมืดมิดของสิทธิในชีวิตอันเทาเทียมของสังคม
โรมันสมัยนั้นประกายแสงแหงคุณคาในชีวิตมนุษยจากแนวคิด “สิทธิธรรมชาติ” ที่เชื่อมั่นวา “มนุษย
ทุกคนลวนเกิดมาอยางมีคุณคา รูจักคิดและมีเหตุผลในตนเอง” ก็ทําใหมนุษยปุถุชนธรรมดาที่มิใช
๑๑
ชนชั้นปกครองในยุคตอๆ มา เริ่มหันมาเห็นคุณคาในชีวิตของตนเองจากการเปนผูถูกปกครอง
ก็อาจหาญมากขึ้นที่จะทาทายเพื่อขอกําหนดชีวิตของตนเองบาง ดังจะไดอธิบายความตอไป
๙ Valerie Hope, “Social Pecking Order in the Roman World,” BBC (29 March 2011), สืบคนเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙,
จาก http://www.bbc.co.uk/history/ancient/romans/social_structure_01.shtml
๑๐ Mark Cartwright, “Slavery in the Roman World,” Ancient History Encyclopedia (1 November 2013), Ê׺¤Œ¹àÁ×èÍ
ô μØÅÒ¤Á òõõù, ¨Ò¡ http://www.ancient.eu/article/629/
๑๑ “Human Rights Philosophies”, Australian Human Rights Commission, สืบคนเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙,
จาก https://www.humanrights.gov.au/human*-rights-explained-fact-sheet-3-human-rights-philosophies.