Page 12 - หนังสือหลักการเกษตรอินทรีย์
P. 12
~ 4 ~
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสําเร็จรูป เป็นต้น การดําเนินอุตสาหกรรมขนาดกลาง ต้องมีการจัดการที่ดี แรงงานที่ต้องมี
ทักษะ ความรู้ ความสามารถในกระบวนการผลิตเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้สินค้าที่มีคุณภาพระดับเดียวกัน
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีคนงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป เงินดําเนินการ
มากกว่า 200 ล้านบาท อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้แก่อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก เป็นต้น
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีระบบจัดการที่ดี ใช้คนที่มีความรู้ มีทักษะ ความสามารถเฉพาะด้าน หลายสาขา เช่น
วิศวกรรม อีเล็กทรอนิกส์ ในการดําเนินงานการผลิตมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ใช้เครื่องจักร คนงาน เงินทุนจํานวนมาก
ขึ้น มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและผลิตสินค้าได้ทีละมากๆ มีการว่าจ้างบุคคลระดับผู้บริหารที่มีความสามารถ
1.3 อาชีพพาณิชยการและบริการ
อาชีพพาณิชยกรรม เป็นการประกอบอาชีพที่เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้ากับเงิน ส่วนใหญ่จะมี
ลักษณะซื้อมา ขายไป ผู้ประกอบอาชีพทางพาณิชกรรม จึงจัดเป็นคนกลาง ซึ่งทําหน้าที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือ
บริการต่างๆ นับตั้งแต่การนําวัตถุดิบจากผู้ผลิตด้านเกษตรกรรม ตลอดจนสินค้าสําเร็จรูป จากโรงงานอุตสาหกรรม
รวมทั้งคหกรรม ศิลปกรรม หัตถกรรมและการนํามาขายต่อผู้บริโภค ประกอบด้วย การค้าสินค้าส่งและการค้า
สินค้าปลีก โดยอาจจัดจําหน่ายในรูปของการขายตรงหรือขายอ้อม จึงเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกทุกอาชีพ การ
ประประกอบอาชีพพาณิชยกรรม หรือบริการผู้ประกอบอาชีพมีความสามารถในการจัดหา มีความคิดริเริ่ม และมี
คุณธรรม จึงทําให้การประกอบอาชีพเจริญก้าวหน้า
อาชีพบริการ เป็นอาชีพที่ทําให้ให้เกิดความพอใจแก่ผู้ซื้อ การบริการอาจเป็นสินค้าที่มีตัวตนหรือไม่มี
ตัวตนก็ได้ การบริการที่มีตัวตน ได้แก่การบริการขนส่ง บริการทางการเงิน ส่วนบริการไม่มีตัวตน ได้แก่ บริการ
ท่องเที่ยว บริการรักษาพยาบาล เป็นต้น
1.4 อาชีพคหกรรม ได้แก่อาชีพที่เกี่ยวกับอาหาร ขนม ตัดเย็บ การเสริมสวย ดัดผม เป็นต้น
1.5 อาชีพหัตถกรรม การประกอบอาชีพหัตถกรรมได้แก่อาชีพที่เกี่ยวกับงานช่าง โดยการใช้มือในการผลิต
ชิ้นงานเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่อาชีพ จักสาน แกะสลัก ทอผ้าด้วยงาน ทอสื่อ เป็นต้น
1.6 อาชีพศิลปกรรม การประกอบอาชีพศิลปกรรม ได้แก่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกในลักษณะ
ต่างๆ เช่น การวาดภาพ การปั้น การดนตรี ละคร การโฆษณา ถ่ายภาพ เป็นต้น
2. การแบ่งอาชีพตามลักษณะของการประกอบอาชีพ
ลักษณะของการประกอบอาชีพเป็น 2 ลักษณะ คืออาชีพอิสระและอาชีพรับจ้าง
2.1 อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่มีผู้ประกอบการดําเนินการด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียวหรือ
เป็นกลุ่ม อาชีพอิสระที่ไม่ต้องใช้คนจํานวนมาก แต่ถ้าหากมีความจําเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นอาจมาช่วยงานก็ได้
เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจําหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่องในการบริหาร การจัดการไปอย่าง
รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่นการขายอาหาร การขายของชํา ซ่อมรถจักรยานยนต์
ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร การจัดการ เช่น
การตลาด ทําเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดําเนินงาน
ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง
2.2 อาชีพรับจ้าง ที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการโดยตัวเองเป็นผู้รับจ้างให้และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง
หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งตกลงว่าจ้างกันบุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า “นายจ้าง” หรือ