Page 16 - หนังสือหลักการเกษตรอินทรีย์
P. 16
~ 8 ~
เองมีคุณสมบัติที่กล่าวมาหรือไม่ สุขภาพ ตนเองมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ในการประกอบอาชีพขายผลไม้หรือไม่
โดยเฉพาะต้องขายในลักษณะเป็นรถเข็น ต้องเคลื่อนที่ไปบริการลูกค้าตามสถานที่ต่างๆความถนัด ความมีใจรักใน
อาชีพต้องพิจารณาว่า อาชีพขายผลไม้ ตนเอง มีคุณสมบัติที่จําเป็นเพียงพอหรือไม่ มีความถนัดที่จะทํา หรือใจรักจะ
ทําเพียงพอ ที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในอาชีพหรือไม่ ส่วนแบ่งของตลาด ต้องพิจารณาว่าอาชีพขายผลไม้
ตามสถานที่/ทําเล แหล่งที่จะขายนั้น มีโอกาสขายได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหน จะขายเข่งได้
มากน้อยแค่ไหน จะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างไรจึงจะจูงใจลูกค้า การขยายงาน/กิจการ จะทําได้หรือไม่ จะมี
ปัญหา อุปสรรคอะไรความมั่นคงในอาชีพ อาชีพขายผลไม้มีความมั่นคงหรือไม่ จะขายแล้วคุ้มทุนหรือไม่ จะมีผลไม้
ขายต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าไม่ใช่เทศกาลผลไม้ที่ขายจะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าผลไม้นั้น เน่าเสียจะทําอย่างไร เมื่อ
วิเคราะห์ความพร้อมของตนเองในการประกอบอาชีพขายผลไม้แล้ว ตนเองตอบได้ว่ามีความพร้อมแล้ว และมีความ
พอใจกับการวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของการประกอบอาชีพก็แสดงว่ามีความพึงพอใจที่จะดําเนินอาชีพขายผลไม้ได้
ขั้นต่อไปก็คือ การกกําหนดโครงการและแผนงานในการขายผลไม้ต่อไป
ปัญหาการเกษตร
ปัญหาตลาดสินค้าเกษตร ปัญหาการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรในประเทศไทย ได้แก่
1. ปัญหาเกี่ยวกับพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมีการรวมหัวกันกดราคาและผูกขาดเพราะเห็นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่
เป็นเกษตรกรรายย่อย ขาดเงินทุน และขาดความรู้ทางด้านการตลาด
2. ปัญหาการขายต้องผ่านระบบการขายตลาดกลางแล้วจึงส่งต่อไปยังท้องถิ่นที่ขาดแคลนอื่นๆ เพื่อ
ประกอบการแปรรูปรวมทั้งเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ทําให้เป็นอุปสรรคในเรื่องของความไม่คล่องตัว ค่าใช้จ่ายทาง
การตลาดสูงเกินไป
3. ปัญหาขาดสถาบันด้านการค้า เนื่องจากเกษตรกรขาดการรวมตัวกันเพื่อให้เกิดอํานาจการต่อรอง ดังนั้น
พ่อค้าคนกลางกดราคาได้ง่าย
4. ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพ สินค้าเกษตรส่วนใหญ่ จัดมาตรฐานได้ยาก ผู้ซื้อต้องไปดูสินค้าด้วยตนเอง ทําให้
เสียค่าใช้จ่ายสูง
5. ระบบช่างตวงวัด มีระบบที่แตกต่างกันในการซื้อขายสินค้าบางชนิด และบางท้องที่ก็มีมาตราช่าง ตวง วัด
แตกต่างกันออกไป
การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย
1. สภาพการเกษตรทั่วไป ส่วนใหญ่ทําการผลิตพืชและสัตว์ ที่จําเป็นต่อการอุปโภคและบริโภค ของคนไทย
ทั้งประเทศ ทั้งยังผลิตได้เกินความต้องการและส่งออกจําหน่ายต่างประเทศจํานวนมากทุกปี ปัญหาการเกษตรส่วน
ใหญ่จะมาจากการบริการของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานทางเกษตรยังไม่
กว้างขวางพอ และอาจมีปัญหาจากด้านเกษตรกร เนื่องจากมีขีดความสามารถในการปรับตัวได้ไม่เท่ากับการ
วิวัฒนาการทางด้านการผลิตทางการเกษตร
2. การส่งเสริมการเกษตร หมายถึง การให้บริการความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
ทางการเกษตรแก่เกษตรกร เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรที่จะนําสิ่งใหม่ๆไปใช้ในการพัฒนาอาชีพเกษตรให้ดี
ขึ้น เนื่องจากสภาวการณ์ที่จะร่วมมือระหว่างรัฐและเกษตรกร โดยมีแนวทางที่ให้เกษตรกรได้รู้จักช่วยเหลือตนเอง