Page 144 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 144
133
4. ลักษณะบุคลิกภาพของผู้มีคุณธรรม ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกัน มีจิตอาสา เป็นผู้น า
ทางความคิด รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือสังคม มีความเสียสละ มีเมตตาและคุณธรรม ยึดหลักความ
พอดี
5. ลักษณะบุคลิกภาพของผู้มีความรู้ เป็นผู้แสวงหาความรู้ มีความรอบรู้ ขยายผลถ่ายทอด
ความรู้ให้ผู้อื่น ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เรียนรู้ พัฒนาตน จนสามารถแก้วิกฤตตนเองและถ่ายทอดสู่ผู้อื่น
ได้
5.8 การพัฒนาบุคลิกภาพสู่ความส าเร็จตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ที่ประสบความส าเร็จในชีวิตมักจะไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาบุคลิกภาพ ผู้ใดมีบุคลิกภาพที่ดี
เท่ากับมีขุมทรัพย์มหาศาลอยู่ในตัว และจะส่งผลดีต่อการต าเนินชีวิต การประกอบการงานอาชีพ และ
ท าให้การน้อมน าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบรรลุเป้าหมายและสัมฤทธิ์ผล การพัฒนา
บุคลิกภาพนั้นสามารถพัฒนาได้ทุกโอกาสและตลอดชีวิต
5.8.1 หลักการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวพุทธศาสนา
1. สัปปุริสธรรม 7
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หากพิจารณาแล้ว คือ หลักสัปปุริสธรรม 7 ในศาสนา
พุทธจะเห็นได้ว่า มีความสอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับหลักธรรม คือ "สัปปุรีสธรรม 7 ที่
พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เป็นอย่างมากหรืออาจกล่าวได้ว่า "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นการ
อธิบาย "สัปปุริสธรรม 7" ในลักษณะประยุกต์นั่นเอง "สัปปุริสธรรม 7 มีความหมายว่า "ธรรมของ
สัตบุรุษธรรมที่ท าให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี ธรรมของคนดี"
กล่าวโดยสรุป หมายถึงธรรม 7 ประการที่ท าให้เรียกบุคคลได้ว่าเป็น "คนดี" หรือ บุคคล
ที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีที่แท้จริงตามหลักพุทธศาสนาแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบด้วย
คุณสมบัติ 7 ประการ ดังนี้
(1) ธัมมัญญตา คือ การรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริงหรือเหตุปัจจัยที่เป็นกฎเกณฑ์หรือ
เงื่อนไขของสิ่งต่าง ๆ