Page 148 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 148

๑๕๐

                           ื่
                       ๕) เพอให้กรุงเทพมหานครมีธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลองค์กรที่ดี (Good Corporate Governance)
               มีระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการควบคุม (Control) ที่มีประสิทธิผล


               (4) เป้าหมาย
                                                                               ้
                                                      ั
                       สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลดกรุงเทพมหานคร กำหนดเปาหมายสำคัญในการดำเนินงานตาม
               แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕) และแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร
               ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖3 เฉพาะในด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานครใน 3 มิติ ประกอบด้วย
               มิติที่ ๗.๓  การบริหารทรัพยากรบุคคล  มิติที่ ๗.๔  การคลังและงบประมาณ และมิติที่ ๗.๕  เทคโนโลยีสารสนเทศ
               แต่ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มที่ 5 ของหลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26 ได้พิจารณาแผนพฒนา
                                                                                                   ั
               กรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕) และสอบทานรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์

               “ประชาธิปไตย” และรายละเอียดแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานตรวจสอบภายใน  สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
               ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจด้านการตรวจสอบของกรุงเทพมหานคร สรุปได้ ดังนี้
                       ระดับกรุงเทพมหานคร
                       1) มหานครประชาธิปไตย กรุงเทพมหานครต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองประชาธิปไตยและมีธรรมาภิบาล

                                                                                        ั
               เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์อย่างเขมแขง โดยในแผนพฒนากรุงเทพมหานคร
                                                                        ้
                                                                           ็
               ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕) กำหนดเป้าหมายในการพัฒนามหานครประชาธิปไตยไว้ ๕ มิติ
               โดยหนึ่งในนั้น คือ เมืองธรรมาภิบาล ซึ่งกำหนดเป้าหมายว่า “ประชาชนกรุงเทพฯ มีส่วนร่วมในการเสนอนโยบาย
               และตรวจสอบการทำงานของกรุงเทพมหานครโดยการใช้ระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วม” ซึ่งในรายงานสรุปผล
               การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รอบครึ่งปีงบประมาณ (๑ ตุลาคม
               ๒๕๖๒ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓) สรุปผลการดำเนินงานเกี่ยวกับมิติที่ ๕.๒ เมืองธรรมาภิบาล ว่ายังไม่บรรลุเป้าหมาย
               ยุทธศาสตร์ทั้งหมดกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้  เมื่อสอบทานรายละเอียดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดผลการ
               ดำเนินการ และโครงการ พบว่า กิจกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดเวทีให้ชุมชนเสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่

               เพื่อกำหนดนโยบายในการพฒนาเขต และกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จจากจำนวนร้อยละของชุมชนในพื้นที่ของ
                                       ั
               กรุงเทพมหานครที่จัดทำแผนพัฒนาชุมชน และจำนวนของสำนักงานเขตที่นำแผนพัฒนาชุมชนไปบรรจุไว้ใน
               แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน สำหรับเป้าหมายเกี่ยวกับการเพิ่มบทบาทของพลเมืองกรุงเทพฯ ในการ

               ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองและการใช้ระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ตัวชี้วัดผลสำเร็จของเรื่องดังกล่าวกำหนดไว้
               เพียงการที่กรุงเทพมหานครมีรายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดทำงบประมาณตามแผนพัฒนาชุมชนระดับเขต
               และระดับกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการดำเนินทั้งหมด คือ ร้อยละ ๐ เมื่อเทียบกับเป้าหมาย สำหรับอุปสรรคที่สำคัญ
               ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ คือ สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  และ

               การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งทำให้เกิดวิถีของการทำงานนอกสถาน
                                                        ี
               ที่ตั้งหรือการทำงานที่บ้าน และการงดกิจกรรมที่มการรวมตัวของคนจำนวนมาก
                       2) จากเป้าหมายการพัฒนามหานครประชาธิปไตยและผลความคืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าว สะท้อน
                                                                                   ื่
               ให้เห็นว่า กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่เขตเป็นหลัก เพอนำไปใช้ประกอบการวางแผน
               พัฒนาเขตและจัดทำงบประมาณ ซึ่งมีช่องโหว่หรือจุดอ่อนในการดำเนินการ คือ ไม่ได้คำนึงถึงภาคประชาสังคมอื่น
               โดยไมมีช่องทางที่จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้อาศัยในชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับ
                     ่
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153