Page 152 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 152
๑๕๔
การงดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก
จากเป้าหมายในการพัฒนามหานครประชาธิปไตยและความคืบหน้าในการดำเนินการ สะท้อนให้เห็นว่า
ื่
่
กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่เขตกอน เพอนำไปใช้ประกอบการวางแผน
พัฒนาเขตและจัดทำงบประมาณ ซึ่งอาจจะมีช่องโหว่ในการดำเนินการ คือ ยังไม่ได้คำนึงถึงภาคประชาชนอื่น
โดยยังไม่มีช่องทางรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่ไม่ได้อาศัยในชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรุงเทพมหานครและ
ยังไม่ได้เสริมความเข้มแข็งและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับเครื่องมือในการตรวจสอบที่
กรุงเทพมหานครมีอยู่แล้ว ได้แก่ ภารกิจตรวจสอบภายใน (Internal Audit) และภารกิจการตรวจราชการ
(Inspection)
สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานครรับผิดชอบภารกิจการตรวจสอบภายในและ
ประยุกต์ใช้กรอบมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในของ The Institute of Internal
Auditors : IIA ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดนิยามการตรวจสอบภายในไว้ว่า “การตรวจสอบภายใน คือ
ิ่
การให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ เพอเพมคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงาน
ื่
ขององค์กร การตรวจสอบภายในช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของ
กระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ
คุณค่าของงานตรวจสอบภายในต้องประเมินจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่า การปฏิบัติงานตรวจสอบ
ภายในตอบสนองความต้องการหรือความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ อย่างไร ซึ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียสำคัญของหน่วยงานภาครัฐ คือ ประชาชน ดังนั้น ภารกิจตรวจสอบภายในของหน่วยงานภาครัฐจะมี
คุณค่าก็ต่อเมื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของ
กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ (Stakeholders) ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ
วางแผนการตรวจสอบ
สำหรับประเภทการตรวจสอบที่สร้างประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด คือ การตรวจสอบการดำเนินงาน
่
(Performance Audit) ซึ่งเป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มคาของการ
ดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อสอบทานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจสอบภายใน ย้อนหลัง
๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒) พบว่า ผลการตรวจสอบการดำเนินงาน/โครงการ (Performance Audit) มีแนวโน้ม
ลดลงอย่างต่อเนื่องและเมื่อสอบทานรายละเอียดผลงาน พบว่ากิจกรรมหรือโครงการส่วนใหญ่ที่ได้รับการ
ตรวจสอบในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม่ใช่กิจกรรมหรือโครงการที่มีผลกระทบโดยตรงหรือผลกระทบ
ในวงกว้างต่อประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (เอกสารหมายเลข ๑)
จากสภาพแวดล้อมระดับกรุงเทพมหานครที่ยุทธศาสตร์ด้านเมืองธรรมาภิบาล ในมหานครประชาธิปไตย
่
ไม่คอยมีความคืบหน้าและยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการตรวจสอบที่กรุงเทพมหานครมีอยู่แล้ว และ
กระบวนการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ที่ยังไม่ได้เปิดโอกาสให้กลุ่ม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของกรุงเทพมหานคร คือ ประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการตรวจสอบ กลุ่มที่ ๕
จึงเสนอแนวคิด “การยกระดับการบริการของกรุงเทพมหานครด้วยการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาค
ประชาชน” และจัดทำโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You)
ื่
ทั้งนี้ กลุ่มที่ ๕ ได้ศึกษาแนวทางการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากประเทศอื่น เพอประกอบการเสนอแนว
ทางการพัฒนาการพัฒนาการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมของกรุงเทพมหานครด้วย