Page 33 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 33

(ข)  ในเมื่อการปฏิบัติหนาที่ดังกลาวไมกระทบกระเทือนตอการปฏิบัติหนาที่

               หรือเกียรติศักดิ์ของผูพิพากษา และ
                              (ค)  ตองไดรับอนุญาตจากสํานักงานศาลยุติธรรมแลว (หนังสือสํานักงาน
               ศาลยุติธรรม ที่ ศย ๐๐๓/ว ๑๙๑ ลงวันที่  ๒๒  พฤษภาคม  ๒๕๕๐) : การที่จะไดรับอนุญาต

               จากสํานักงานศาลยุติธรรมนั้น  ตามปกติตองใหผูบังคับบัญชาของผูพิพากษาผูจะไดรับแตงตั้ง
               หรือมอบหมายนั้น ไดมีโอกาสทําความเห็นเสนอแนะมาตามลําดับชั้นกอน วาการที่ผูพิพากษาผูนั้น

               จะไดรับการแตงตั้งหรือมอบหมายดังกลาว เปนกรณีที่จําเปนหรือไม จะเปนการกระทบกระเทือน
               ตอการปฏิบัติหนาที่ประจําของผูพิพากษานั้นหรือไม  และจะเสี่ยงตอการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์
               ของสถาบันตุลาการหรือไม  ทั้งนี้เพื่อใหการใชดุลพินิจของสํานักงานศาลยุติธรรมเปนไปได

               โดยรอบคอบยิ่งขึ้น
                              (๒)  จริยธรรมขอนี้ไมมีผลครอบคลุมถึงกรณีที่ผูพิพากษาไดรับแตงตั้งหรือ

               มอบหมายใหปฏิบัติงานอื่นโดยกฎหมาย ซึ่งมีบทบัญญัติแตงตั้งเอาไวโดยตรง เชน ประธาน
               ศาลฎีกาเปนนายกเนติบัณฑิตยสภา ประธานศาลอุทธรณเปนอุปนายกเนติบัณฑิตยสภา
               ตามพระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๗ อธิบดีผูพิพากษาศาลอาญา

               เปนกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ  ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความ
               รวมมือระหวางประเทศในการดําเนินการตามคําพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๑๗  มาตรา  ๙


               บทบัญญัติ


                              ขอ  ๒๘  ผูพิพากษาไมพึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเขารวมสัมมนา
               อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ  ตอสาธารณชน  ซึ่งอาจกระทบกระเทือนตอการปฏิบัติหนาที่

               หรือเกียรติศักดิ์ของผูพิพากษา และจักตองไมกระทําการดังกลาวเพื่อผลประโยชนในทางธุรกิจ
                              การใหขาวหรือขอเท็จจริงในทางราชการของศาลยุติธรรมและสํานักงาน
               ศาลยุติธรรม หรือเรื่องราวที่เกี่ยวของกับทางราชการของศาลยุติธรรมหรือสํานักงานศาลยุติธรรม

               จะกระทําไดตอเมื่อเปนผูรับผิดชอบในการใหขาวหรือขอเท็จจริงตามที่คณะกรรมการตุลาการ
               ศาลยุติธรรม  คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม  หรือสํานักงานศาลยุติธรรมกําหนด


               คําอธิบาย
                              (๑)  แสดงปาฐกถา  บรรยาย  สอน  เขารวมสัมมนา  อภิปราย  :

                              สํานักงานศาลยุติธรรมไดวางแนวทางปฏิบัติในการอนุญาตใหขาราชการ
               ฝายตุลาการศาลยุติธรรมไปบรรยายหรือสอน อบรม ทบทวนความรู หรือเขารวมประชุม สัมมนา

               อภิปราย  ดังนี้
                               (ก)  ขาราชการตุลาการ ใหขออนุญาตตอผูมีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา
               ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมวาดวยการลาหยุดของขาราชการฝายตุลาการ

               ศาลยุติธรรมและลูกจางของสํานักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๔ หมวด ๓ และเมื่อผูมีอํานาจ
               พิจารณาหรืออนุญาตไดพิจารณาอนุญาตแลวใหรายงานสํานักงานศาลยุติธรรมดวย
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38