Page 32 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 32

ขอหามดังกลาวนี้  เปนการสอดคลองกับบทบัญญัติแหงกฎหมายในเรื่องทํานอง

               เดียวกันซึ่งกระจัดกระจายอยูหลายแหง  เชน  มาตรา  ๕๙  แหงพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการ
               ฝายตุลาการศาลยุติธรรม  พ.ศ.๒๕๔๓  มาตรา  ๘๓  (๖)  แหงพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการพลเรือน
               พ.ศ. ๒๕๕๑

                              การระบุชื่อตําแหนงไวใหคลุมถึงการ “ดํารงตําแหนงอื่นใด” ดวย ก็เพื่อปองกัน
               การหลีกเลี่ยงโดยวิธีตั้งชื่อเฉพาะตําแหนงสําหรับผูพิพากษาขึ้นใหม เชน ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

               เหรัญญิก ปฏิคม หรือนายทะเบียน เปนตน ทั้งนี้ ไมวาการเขาดํารงตําแหนงหนาที่ดังกลาวนั้น
               จะมีคาตอบแทนใหหรือไม
                              (๓)  สําหรับการที่ผูพิพากษาจะประกอบอาชีพ  วิชาชีพ  หรือดําเนินกิจการใด

               ดวยตนเองซึ่งอาจทําได ก็ยังจําเปนที่จะตองระมัดระวังใหอยูในลักษณะที่พอเหมาะพอควรอยูเสมอ
               ทั้งจะตองมิใหกระทบกระเทือนตอการปฏิบัติหนาที่ของผูพิพากษาหรือเกียรติศักดิ์

               ของสถาบันตุลาการดวย

               บทบัญญัติ


                              ขอ ๒๗  ในกรณีจําเปนผูพิพากษาอาจไดรับมอบหมายหรือแตงตั้งจากหนวย

               ราชการ หรือหนวยงานอื่นของรัฐใหปฏิบัติหนาที่อันเกี่ยวกับหนวยราชการ หรือหนวยงานนั้นได
               ในเมื่อการปฏิบัติหนาที่ดังกลาวไมกระทบกระเทือนตอการปฏิบัติหนาที่หรือเกียรติศักดิ์ของ
               ผูพิพากษา ทั้งจักตองไดรับอนุญาตจากสํานักงานศาลยุติธรรมแลว เวนแตจะมีบทบัญญัติ

               แหงกฎหมาย ระเบียบขอบังคับ หรือมติของ ก.ต. ระบุไวเปนอยางอื่น


               คําอธิบาย
                              (๑)  ผูพิพากษาเปนบุคคลซึ่งไดรับการยอมรับและยกยองจากสังคมทั่วไปวาเปน
               ผูทรงภูมิรูในทางกฎหมาย จึงมักจะไดรับการขอรองจากหนวยราชการอื่นใหไปชวยปฏิบัติงาน

               อันเกี่ยวกับหนวยราชการนั้นเปนครั้งคราว การที่ผูพิพากษาจะไปชวยปฏิบัติหนาที่ใหกับหนวยราชการ
               ตาง ๆ ตามคําขอรองนั้น  นับวาเปนการปฏิบัติตนเพื่อประโยชนแกราชการโดยสวนรวมอยางหนึ่ง

               ทั้งยังเปนโอกาสที่จะชวยชี้แจงใหบุคคลในวงการฝายอื่นมีความเขาใจในเรื่องของงานตุลาการ
               ดีขึ้นอีกดวย แตอยางไรก็ตาม การที่ผูพิพากษาจะออกไปใหความชวยเหลือแกงานราชการฝายอื่นนี้
               จักตองคํานึงถึงปญหาการขาดอัตรากําลังบุคลากรในวงการตุลาการและความจําเปนที่จะตองปกปอง

               สถาบันตุลาการ  มิใหเขาไปพัวพันกระทบกระทั่งหรือขัดแยงกับราชการฝายอื่นดวย จริยธรรมขอนี้
               จึงไดวางเงื่อนไขสําหรับการที่ผูพิพากษาจะไดรับมอบหมายหรือแตงตั้งใหไปปฏิบัติหนาที่ราชการ

               อื่นไว  ๓  ประการ ดังนี้
                              (ก)  ในกรณีจําเปน :  การแตงตั้งหรือมอบหมายใหผูพิพากษาไปชวยปฏิบัติหนาที่
               ราชการใหแกหนวยราชการ  หรือหนวยงานอื่นของรัฐนั้นจะกระทําไดเมื่อมีความจําเปนจริง ๆ เทานั้น

               และตองเปนไปในลักษณะที่ผูพิพากษาเปนฝายไดรับการขอรองจากฝายผูแตงตั้งหรือมอบหมาย
               โดยที่ผูพิพากษานั้นมิไดกระทําการใด ๆ อันเปนการเสนอตัวดวย
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37