Page 3 - A Neurofuzzy Network and Its Application to Machine Health Monitoring
P. 3
3
2. วัตถุประสงค์การวิจัย
2.1 เพื่อสร้างชุดการสอนวิชา วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เรื่อง การค านวณวงจร R-L-C ในแบบต่างๆ
2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชา วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เรื่อง การค านวณวงจร R-L-C
2.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน
2.4 เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 แผนกวิชา ช่างไฟฟ้าก าลัง ที่มีต่อชุดการ
สอนวิชา วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เรื่อง การค านวณวงจร R-L-C
3. สมมติฐานของการวิจัย
ชุดการสอนวิชา วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เรื่อง การค านวณวงจร R-L-C ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับนักเรียน
ระดับชั้น ปวช.2 แผนกวิชา ช่างไฟฟ้าก าลังจะมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์(E1/E2) 80/80 และมีระดับความ
พึงพอใจในระดับ มาก
4. วิธีการด าเนินการวิจัย
การสร้างชุดการสอนรายวิชาวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เรื่อง การค านวณค่า R-L-C ผู้วิจัยได้ศึกษาถึง
การสร้างชุดการสอน รวมไปถึงการหาประสิทธิภาพของชุดการสอน โดยมีวิธีการด าเนินดังนี้
4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561
แผนกวิชา ช่างไฟฟ้าก าลัง วิทยาลัยการอาชีพสอยดาว ที่เรียนในรายวิชา วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
จ านวนรวม 22 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา
2561 แผนกวิชา ช่างไฟฟ้าก าลัง วิทยาลัยการอาชีพสอยดาว ที่เรียนในรายวิชา วงจรไฟฟ้า
กระแสสลับ จ านวน 22 คน
4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดการสอนรายวิชาวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เรื่อง การค านวณค่า R-L-C
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. แบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจ
4.3 ขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ออกแบบและสร้างชุดการสอนรายวิชาวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เรื่อง การค านวณค่า R-L-C
2. น าชุดการสอนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
3. บันทึกข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มบันทึกคะแนนนักเรียนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของชุดการสอน
4. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล เพื่อน าผลไปวิเคราะห์
4.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกโดยใช้สูตร การหาประสิทธิภาพชุดการสอน E1 / E2
2. การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังการเรียน โดย
ใช้ค่าสถิติ t – test
3. การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผลขั้นตอนการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้ค่าร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน