Page 29 - Top Executive Sharing
P. 29
27
กลับมาที่เรื่องการครองตน ผมอยากแนะนําให้อ่านหนังสืออยู่ 1 เล่ม แต่เป็นหนังสือที่เก่ามาก
หรือหากใครไม่ชอบอ่าน เดี๋ยวนี้ก็มี YouTube ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่มีคนมาอ่านให้เราฟัง มีทั้ง 2 Version
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในภาษาไทยจะชื่อ “พ่อรวยสอนลูก” ส่วนภาษาอังกฤษจะใช้ชื่อว่า
“Rich Dad, Poor Dad” หนังสือเล่มนี้ตอนที่ผมอ่านยังไม่มีภาษาไทย ก็เป็นภาษาอังกฤษแต่เป็นภาษาอังกฤษ
ที่ใช้ภาษาที่ง่ายอ่านง่าย ไม่ได้ใช้คําศัพท์ที่มีความซับซ้อนทําให้ไม่อยากอ่าน ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทําให้ชีวิตผม
เปลี่ยนจริงๆ จากหลักคิดความเป็นมนุษย์เงินเดือน จากคนที่คิดขยันทํามาหากิน แล้วเอาเงินมาผ่อนบ้าน
ผ่อนรถ อยากได้เงินมากเท่าไรก็ทํางานมากเท่านั้น ซึ่งแบบนี้เขาเรียกว่า Rat Race ที่มีลักษณะเหมือนหนูถีบ
จักรที่ถีบวนอยู่นั่นไม่ออกไปไหน ทํางานไปเอาเงินมาซื้อของแล้วก็เป็นหนี้ แล้วก็ทํางานใช้หนี้ไป ซื้อบ้านก็เป็นหนี้
เพื่อจะมาอยู่อาศัย ซื้อรถก็ต้องไปหางานทําเสริมเพื่อให้เพียงพอ แต่ถ้าเราคิดได้ว่า ทําอย่างไรที่เรามีเงินที่ได้มา
จากการกู้ยืมอยู่ 1 ก้อน จํานวน 1 ล้านบาท แทนที่เราจะเอาเงินจํานวนนี้ไปซื้อรถ แล้วเราก็ต้องผ่อนเงิน
จํานวน 1 ล้านบาทนั่นไปเรื่อยๆ เราก็จะได้รถมา 1 คัน เมื่อผ่านไป 5 ปี รถคันนี้จะเหลือราคามูลค่าไม่เกิน
500,000 บาท แต่ถ้าเรานําเงินก้อนที่ว่านี้ไปลงทุนให้มันเกิดรายได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็น
การซื้อของมาขาย, หรือจะไปซื้อคอนโดให้เขาเช่าอะไรก็แล้วแต่ จะทําให้เรามีรายได้จํานวนหนึ่งมาผ่อน
เมื่อผ่อนเราก็จะได้ Asset เข้ามา ต่อไปถ้าเราผ่อนหมด Asset ตัวนั้นก็จะตกเป็นทรัพย์สมบัติของเรา
ไม่ใช่หนี้สินอีกต่อไป หรือถ้าไปหาลงทุนได้แล้วมีรายได้เกินกว่าเงินที่ผ่อน ก็นําเอาส่วนต่างของเงินที่ว่าไปใช้จ่าย
ในส่วนอื่นได้ อันนี้เป็นหลักคิดที่ไม่มีในการเรียนการสอนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ถ้าไปฟังคนที่เขาเขียน
รู้สึกว่าจะชื่อ Robert Kiyosaki อธิบายซึ่งเขาอธิบายไว้ดีมาก ซึ่งผมก็โชคดีอีกอย่างหนึ่งที่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้
ปรากฏว่าผมดันมีเพื่อนดี ซึ่งเป็นเพื่อนในสมัยเรียนประถม ซึ่งมีฐานะร่ํารวย ก็ช่วยตั้งแชร์วงหนึ่งให้ผมโดยให้ผม
เป็นเจ้ามือ ซึ่งเป็นแชร์ที่เล่นกันโดยไม่มีการเปียดอก ซึ่งก็เหมือนเป็นการนําเงินมาให้กันยืมแล้วผ่อนเป็นรายงวด
เหมือนลงขันกันหมุนเวียนเงินทุน แล้วพอครบกําหนดจ่ายก็มาเลี้ยงข้าวสังสรรค์กันแทนจ่ายดอก ซึ่งทําอย่างนี้
ต่อเนื่องกันมานานราว 10 ปี วงหนึ่งจะตกประมาณ 1 ปี มีคนร่วมวงประมาณ 10 คน พอหมดก็ตั้งใหม่ เมื่อเรา
ได้เงินก้อนมาเราก็นําเงินนั้นไปลงทุน ซึ่งผมก็โชคดีอีกที่มีเพื่อนอีกคนหนึ่งเป็นเจ้าของบริษัทรถเช่า แนะนําให้
ผมไปดาวน์รถมาแล้วนํามาให้เขาเช่า แล้วเราก็ได้ค่าเช่ามาผ่อนตัวรถมันเอง พอผ่อนตัวเองหมด 4 ปี ซึ่งสัญญา
การเช่ามัน 5 ปี ทําให้ปีสุดท้ายเราก็มีรายรับจากค่าเช่ารถรายเดือนเข้ามาอย่างเดียว ซึ่งทําให้เรามีรายได้เพิ่มเข้ามา
และที่สําคัญเมื่อครบกําหนดหมดสัญญาเช่า 5 ปี รถนั้นก็ตกเป็นของเรา รถนั้นอาจจะเหลือราคาสัก 7 – 8 แสนบาท
แต่มันคือเงินสด ผมขายรถปีละ 4 – 5 คัน ก็ทําให้ผมมีเงินหลายล้านบาทแล้ว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักร
ในการให้เงินทํางานให้เรา แต่ถ้าเราทํางานตามปกติอาจจะมีรายได้เสริมนิดหน่อยจากค่าล่วงเวลาบ้าง รับจ็อบอื่นๆ
มันก็ไม่เป็น Asset ที่เราเห็นเป็นรูปธรรมที่ทําให้เราตั้งตัวได้
ผมถึงบอกว่าการครองตนเป็นเรื่องสําคัญประการที่หนึ่ง ประการที่ 2 คือความเป็นตัวตน ความเป็นตัวตน
คือ สมมติว่าคนคนหนึ่ง เปรียบเทียบในปัจจุบันนี้ ใครเคยไม่ได้ยินชื่อของคุณศรีสุวรรณ จรรยา บ้าง นั่นคือ
ตัวตนครับ เขาเป็นคนลักษณะแบบนั้น เป็นตัวตนแบบนั้น จนคนทั่วไปรู้แล้วว่าคนนี้เป็นคนแบบไหน อย่างไร
ดังนั้นเราทํางานเราต้องมีตัวตนเช่นกัน ไม่ใช่ทําตามใจผู้อื่นหรือผู้บังคับบัญชาจนสูญเสียความเป็นตัวตนของเรา
ความเป็นตัวตนของเราอยู่ที่ว่าเราจะเลือกเป็นแบบไหน เช่น คนที่เลือกการเจริญเติบโต โดยการสนองนโยบาย
ของผู้บังคับบัญชาทุกอย่าง อาจจะเสี่ยงบ้างไม่เสี่ยงบ้าง ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง ขาวบ้างเทาบ้าง ก็อาจจะโตได้ในแบบหนึ่ง
แต่ก็เป็นตัวตนของเขาว่าคนๆนี้เป็นแบบนี้ นายคนไหนมาก็เข้าได้หมด ก็เป็นตัวตน หรือเจ้าหน้าที่ตํารวจบางคน
ชอบรีดไถ หรือเรียกเงินเรียกทองแพงๆเพื่อแลกกับอิสรภาพหรือการวิ่งเต้นคดี มันก็เป็นตัวตนของเขา เมื่อทําไปเรื่อยๆ
ผ่านไปคนก็จะรู้ว่าคนๆนี้เป็นคนอย่างไร คนๆนี้ทํางานแบบไหน คนที่ทํางานเช้าชามเย็นชามเมื่อถึงเวลากลับก่อน
งานเสร็จไม่เสร็จช่าง พรุ่งนี้มาทําใหม่ หรือคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ มันก็มีความเป็นตัวตนของตัวเอง
ทีนี้เราก็ต้องมาถามใจตัวเองว่าจริงๆแล้วตัวเราเป็นคนแบบไหน คนอื่นมองเราเป็นคนแบบไหน และเราอยากให้
คนอื่นมองว่าเราเป็นคนแบบไหน ก็ต้องไปศึกษาดู