Page 217 - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
P. 217

๒๑๐




                                     จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๔๐ บัญญัติวา
              “ในกรณีที่ศาลมิไดกําหนดใหมีวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา ๑๗๓/๑ เมื่อคูความประสงคจะ

              อางเอกสารที่อยูในความครอบครองของตนเปนพยานหลักฐาน ใหยื่นพยานเอกสารนั้นตอศาลกอน
              วันไตสวนมูลฟองหรือวันสืบพยานไมนอยกวาสิบหาวัน เพื่อใหคูความอีกฝายหนึ่งมีโอกาสตรวจและ
              ขอคัดสําเนาเอกสารดังกลาวไดกอนที่จะนําสืบพยานเอกสารนั้น เวนแตเอกสารที่คูความประสงคจะ
              อางอิงนั้นเปนบันทึกคําใหการของพยาน หรือเปนเอกสารที่ปรากฏชื่อหรือที่อยูของพยานหรือศาล

              เห็นสมควรสั่งเปนอยางอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจําเปนแหงเอกสารนั้น
                                     ในกรณีที่ไมอยูในบังคับตองสงเอกสารตามวรรคหนึ่งเมื่อมีเอกสารใชเปน

              พยานหลักฐานในชั้นศาล ใหอานหรือสงใหคูความตรวจดู ถาคูความฝายใดตองการสําเนา ศาลมีอํานาจ
              สั่งใหฝายที่อางเอกสารนั้นส่งสําเนาใหอีกฝายหนึ่งตามที่เห็นสมควร
                                     ถาคูความฝายใดไมสงเอกสารตามวรรคหนึ่งหรือสําเนาเอกสารตามวรรคสอง
              หรือไมสงพยานเอกสารหรือพยานวัตถุตามมาตรา ๑๗๓/๒ วรรคหนึ่ง ใหศาลมีอํานาจไมรับฟงพยาน

              หลักฐานนั้น เวนแตศาลเห็นวาเปนกรณีเพื่อประโยชนแหงความยุติธรรม หรือการไมปฏิบัติดังกลาว
              มิไดเปนไปโดยจงใจและไมเสียโอกาสในการดําเนินคดีของคูความอีกฝายหนึ่ง”

                                     จากมาตราดังกลาวจะเห็นไดวาเปนกรณีที่คูความประสงคจะอางเอกสารที่
              ตนมีอยูเปนพยานหลักฐานในคดีเชนนี้ คูความนั้นจะฟงเอกสารนั้นตอศาลกอนวันไตสวนมูลฟองหรือ
              วันสืบพยานไมนอยกวา ๑๕ วัน เพื่อใหคูความอีกฝายหนึ่งไดมีโอกาสตรวจเอกสาร หรือขอคัดสําเนา
                                     อยางไรก็ตามหากคูความอีกฝายตองการสําเนาเอกสารซึ่งจะมาเปนพยาน

              ในคดีเชนนี้ เขาก็มีสิทธิที่จะรองขอตอศาล ใหศาลสั่งใหคูความฝายที่อางพยานเอกสารนั้น สงสําเนา
              เอกสารใหฝายที่ตองการได ซึ่งศาลจะสั่งใหสงสําเนาหรือไมนั้นเปนดุลพินิจของศาลที่จะสั่งใหสงสําเนา

              หรือไมก็ได แตปกติในทางปฏิบัติแลวแทบจะไมมีสงสําเนาใหแกคูความอีกฝายหนึ่ง เพราะคูความ
              สามารถตรวจดูไดที่ศาลอยูแลว
                                     ในการสงตนฉบับเอกสารเปนพยานในการพิจารณาคดีอาญานั้น ถาตนฉบับ
              เอกสารอยูกับตัวผูอาง ผูอางก็ยอมสงตนฉบับไดสะดวก แตถาผูอางไมยอมนําตนฉบับเอกสารมาสง

              หรือกระทําการใดๆ โดยมุงหมายที่จะกีดกันไมใหคูความอีกฝายอางยังเอกสารนั้น หรือทําลายปดบัง
              ทําใหเอกสารนั้นเสียหาย เชนนี้ถือวาขอเท็จจริงแหงขออางที่คูความอีกฝายหนึ่งตองการนําสืบนั้น

              ฝายที่ไมยอมสงยอมรับแลว ซึ่งมีผลทําใหไมตองมีการสืบพยานเอกสารตามหลักเกณฑที่กําหนดไวใน
              ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๒๔ แตถาตัวเอกสารที่อางเปนพยานนั้นอยูกับคูความ
              ฝายตรงขามหรืออยูกับบุคคลภายนอก เชนนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไดกําหนด

              วิธีการนําสงเอกสารนี้ไวในมาตรา ๒๓๙ คือ “เอกสารใดซึ่งคูความอาง แตมิไดอยูในความยึดถือของเขา
              ถาคูความนั้นแจงถึงลักษณะและที่อยูของเอกสารตอศาลใหศาลหมายเรียกบุคคลผูยึดถือนําเอกสาร
              มาสงศาล” จะเห็นไดวากรณีที่เอกสารนั้นอยูที่คูความฝายตรงขามหรือบุคคลภายนอก ผูอางพยาน

              เอกสารนั้นจะกระทําไดโดยแจงลักษณะและที่อยูของเอกสารนั้นตอศาลแลวศาลก็จะหมายเรียกให
              ผูถูกยึดถือนําเอกสารมาสงศาล
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222