Page 70 - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
P. 70
๖๓
๓) ในการถามปากคําผูเสียหายหรือพยานซึ่งเปนเด็ก หากนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห
เห็นวา การ¶ÒÁ»Ò¡คําà´ç¡¤¹ã´ËÃ×Íคํา¶ÒÁã´ ÍÒ¨ÁռšÃзº¡ÃÐà·×͹μ‹Í¨Ôμã¨à´ç¡ÍÂ‹Ò§ÃØ¹áç
ãËŒ¾¹Ñ¡§Ò¹ÊͺÊǹ¶ÒÁ¼‹Ò¹¹Ñ¡¨ÔμÇÔ·ÂÒËÃ×͹ѡÊѧ¤Áʧà¤ÃÒÐË໚¹¡ÒÃ੾ÒÐ μÒÁ»ÃÐà´ç¹คํา¶ÒÁ
¢Í§¾¹Ñ¡§Ò¹ÊͺÊǹ โดยมิใหเด็กไดยินคําถามของพนักงานสอบสวน และหามมิใหถามเด็กซํ้าซอน
หลายครั้ง โดยไมมีเหตุอันสมควร
๔) เปนหนาที่ของพนักงานสอบสวนที่จะตองแจงใหนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห
บุคคลที่เด็กรองขอและพนักงานอัยการทราบ และแจงสิทธิดังกลาวขางตนใหผูเสียหายหรือพยานที่เปน
เด็กทราบ
๕) หากผูเสียหายหรือพยานที่เปนเด็ก ไมพอใจ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห
หรือพนักงานอัยการที่เขารวมในการจดบันทึกนั้น ผูเสียหายหรือพยานที่เปนเด็กตั้งรังเกียจได
ซึ่งมาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคสาม ไดระบุไว แตมิไดระบุถึงหลักเกณฑหรือสาเหตุในการตั้งรังเกียจ
เพียงแตระบุใหเปลี่ยนตัวบุคคลดังกลาว ดังนั้น จึงควรคํานึงถึงความพอใจและสบายใจของเด็กเปนสําคัญ
¢ŒÍÊѧà¡μ
(๑) โดยทั่วไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไดกําหนดใหผูแทนโดยชอบธรรม มีอํานาจจัดการแทน
ผูเสียหาย ซึ่งเปนผูเยาวได หากเปนกรณีความผิดที่ไดกระทําตอผูเยาวซึ่งอยูในความดูแล และผูแทนโดยชอบธรรมที่มีอํานาจจัดการ
แทนผูเสียหายซึ่งเปนผูเยาวตามมาตรา ๕(๑) เชนวานี้ยอมมีอํานาจรองทุกขแทนผูเสียหายที่เปนผูเยาวไดตามมาตรา ๓(๑) หากเปน
กรณีที่ผูแทนโดยชอบธรรมใชอํานาจจัดการแทนตามมาตรา ๕(๑) ประกอบ มาตรา ๓(๑) รองทุกขแทนผูเสียหายที่เปนเด็ก พนักงาน
สอบสวนยอมไมอยูในบังคับที่จะตองปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๔/๑ กลาวคือพนักงานสอบสวนไมตองนําบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ
วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใชบังคับโดยอนุโลมแกการจดบันทึกคํารองทุกขของผูแทนโดยชอบธรรมแตอยางใด
ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงคหลักของการแกไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๒๔/๑ ก็คือมุงประสงคจะคุมครองเด็กที่เขาสูกระบวนการยุติธรรม
ไมวาจะในฐานะเปนผูเสียหาย ผูตองหา หรือพยาน มิใหเด็กไดรับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม หรือปองกันมิใหมีการ
กระทําการใดๆ อันอาจเปนการซํ้าเติมจิตใจเด็ก ดังนั้น มาตรา ๑๒๔/๑ ที่เพิ่มเติมขึ้นใหมนี้ จึงไมอาจนําไปใชบังคับแกกรณี
ผูแทนโดยชอบธรรมใชอํานาจจัดการแทนตามมาตรา ๕(๑) ประกอบมาตรา ๓(๑) รองทุกขแทนผูเสียหายที่เปนผูเยาวซึ่งอยู
ในความดูแลได หากแตจะมีผลใชบังคับสําหรับกรณีที่ผูเสียหายเปนเด็กอายุไมเกิน ๑๘ ป ซึ่งเปนผูเสียหายโดยตรงรองทุกข
ดวยตนเองเทานั้น
และมาตรา ๑๒๔/๑ นี้ใชบังคับทั้งที่เปนการรองทุกขตอพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๑๒๓ และกรณีที่ผูเสียหาย
รองทุกขตอพนักงานฝายปกครองหรือตํารวจ ตามมาตรา ๑๒๔ (ธานิศ เกศวพิทักษ, ๒๕๕๘)
(๒) การนับอายุของผูเสียหายที่เปนเด็กอายุไมเกิน ๑๘ ปนั้น จะใชหลักเกณฑอยางไรในเรื่องนี้ นายธานิศ
เกศวพิทักษ รองประธานศาลฎีกา ไดใหความเห็นวา “เจตนารมณของมาตรา ๑๒๔/๑ ที่เพิ่มเติมใหมที่มุงประสงคจะคุมครอง
ผูเสียหายที่เปนเด็กที่เขาสูกระบวนการยุติธรรม มิใหเด็กไดรับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมหรือปองกันมิใหมีการ
กระทําใดๆ อันอาจเปนการซํ้าเติมจิตใจเด็กแลว ก็นาจะตองนับอายุของผูเสียหายที่เปนเด็กจนถึงวันที่ผูเสียหายที่เปนเด็ก
รองทุกข ดังนั้นแมในวันที่มีการกระทําความผิด ผูเสียหายซึ่งเปนเด็กยังมีอายุไมเกิน ๑๘ ป แตในวันที่ผูเสียหายรองทุกข
ผูเสียหายมีอายุเกิน ๑๘ ปแลว กรณีไมนาจะตองดวยหลักเกณฑตามมาตรา ๑๒๔/๑” (ธานิศ เกศวพิทักษ, ๒๕๕๘)