Page 71 - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
P. 71

๖๔




                       (๓) หลักเกณฑมาตรา ๑๒๔/๑ คํานึงถึงวุฒิภาวะของผูเสียหายซึ่งเปนเด็กโดยใชเกณฑอายุไมเกิน ๑๘ ปเทานั้น
               หาใชหลักเรื่อง “ผูเยาว” หรือ “ผูบรรลุนิติภาวะ” ไม ดังเห็นไดจาก
                       บันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบรางพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
               ความอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เรื่องเสร็จที่ ๔๔๐/๒๕๕๐ หนา ๖ มีขอสังเกตของสํานักงานอัยการสูงสุด เกี่ยวกับเจตนารมณ
               ของการแกไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๒๔/๑ ตามพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
               (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๕๐ มีขอความตอนหนึ่งวา
                       “...ในกระบวนการดําเนินคดีชั้นสอบสวน ไดแก การรองทุกข การชี้ตัว การสอบปากคําผูตองหา ผูเสียหาย
               หรือพยานที่เปนเด็ก จําเปนจะตองมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห และพนักงานอัยการทําหนาที่ดูแลชวยเหลือเด็ก
               โดยนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะหมีบทบาทในการดูแลชวยเหลือเด็กทางดานจิตใจและสังคมโดยทั่วไป สวนพนักงาน
               อัยการทําหนาที่ดูแลกระบวนการดําเนินคดีซึ่งสอบสวนใหเปนธรรม การทําหนาที่ดังกลาว จึงเปนมาตรฐานความคุมครอง
               ขั้นตํ่าที่รัฐใหแกเด็ก โดยคํานึงถึงความมีวุฒิภาวะของเด็กเปนสําคัญ...” ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบถอยคําในตัวบทมาตรา
               ๑๒๔/๑ ที่บัญญัติวา “...ในคดีนี้ ผูเสียหายเปนเด็กอายุไมเกินสิบแปดป...” แลว ยอมเห็นเจตนารมณของกฎหมายมาตรานี้วา
               มาตรา ๑๒๔/๑ คํานึงถึงวุฒิภาวะของผูเสียหายที่เปนเด็กโดยใชเกณฑอายุไมเกิน ๑๘ ป เทานั้น หาไดใชหลักเกณฑเรื่องความเปน
               “ผูเยาว” ตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ ไม ดังนั้น แมผูเสียหายที่เปนเด็ก
               จะพนจากภาวะผูเยาวและบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส เมื่อทําการสมรส หากการสมรสนั้นไดทําตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘
               อันเปนเหตุใหผูเสียหายเปนผูบรรลุนิติภาวะ ตามมาตรา ๒๐ แลวก็ตาม หากวาผูเสียหาย ซึ่งบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
               ตามมาตรา ๒๐ นั้น ยังมีอายุไมเกิน ๑๘ ป เปนผูรองทุกข พนักงานสอบสวนและพนักงานฝายปกครองหรือตํารวจ
               ผูรับคํารองทุกขยอมอยูในบังคับที่จะตองดําเนินการตามมาตรา ๑๒๔/๑ (ธานิศ เกศวพิทักษ, ๒๕๕๘)
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76