Page 15 - บทที่ 1
P. 15
๖๘ | G E L ๒ ๐ ๐ ๑ ภ า ษ า ไ ท ย เ ชิ ง วิ ช า ก า ร
ตัวอย่างการเขียนบทน าในรายงานขนาดเล็ก
“โฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในกรุงมากเท่าๆ กับเครื่องรับโทรทัศน์ และในปัจจุบันเรา
สามารถกล่าวได้ว่า โฆษณาเป็นของคู่กับรายการทางโทรทัศน์ ค่าใช้จ่ายส าหรับรายการโทรทัศน์ต่างๆ
ล้วนได้มาจากการโฆษณาทั้งสิ้น” (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์, ๒๕๓๗, หน้า ๑ )
จากข้อความข้างต้นได้แสดงว่าโฆษณาเป็นสิ่งส าคัญในการสื่อสารมวลชน ท าให้ข้อความ
โฆษณาเป็นสิ่งที่ต้องพิถีพิถันมากในงานโฆษณาแต่ละชิ้น เพราะเป็นสิ่งที่ได้ผ่านการคิดค้นขึ้นมาเพื่อจูง
ใจให้คนแสดงพฤติกรรมตามที่ผู้สร้างสรรค์โฆษณาต้องการ ความต้องการพื้นฐานที่ส าคัญที่สุดคือ
ความต้องการ ชักจูงให้คนยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ
รายการวิทยุปัจจุบันก็มีการโฆษณาสินค้าเกือบทุกสถานี โดยเฉพาะสถานีที่เป็นรายการเพลงซึ่ง
มีคนฟังค่อนข้างมาก รูปแบบการสร้างภาษาในโฆษณาจึงต้องมีการพัฒนาและแข่งขันเพื่อให้ผู้ฟัง
ประทับใจมากที่สุด และจากความแตกต่างของรูปแบบรายการวิทยุประเภทเอเอ็มและเอฟเอ็ม ซึ่งมีกลุ่ม
ผู้ฟังแตกต่างกันอย่างชัดเจน ผู้วิเคราะห์เห็นว่าน่าจะมีบางสิ่งบางอย่างในการโฆษณาแตกต่างกันไป
อาทิ เรื่องของรูปแบบ ภาษา ตลอดจนตัวสินค้าที่น าเสนอ เป็นเหตุผลให้ผู้วิเคราะห์เกิดความสนใจที่จะ
ศึกษาถึงความแตกต่างที่ปรากฏอยู่จริง
๒. เนื้อหา
3
การเรียบเรียงส่วนเนื้อหาในรายงานประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อความ การอ้างอิงในเนื้อหา
การเขียน อัญประภาษ และเชิงอรรถ
ในส่วนเนื้อความ เมื่อผู้จัดท ารายงานได้ผ่านกระบวนการค้นคว้า รวบรวมและบันทึกข้อมูล
ได้ตามที่ต้องการแล้ว ก่อนอื่นต้องตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อน โดย
พิจารณาถึงแหล่งข้อมูลที่น ามา บุคคลหรือหน่วยงานที่จัดท าข้อมูลนั้น เช่น ถ้าผู้เขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะในสาขาวิชาย่อมน่าเชื่อถือกว่าบุคคลที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น หรือเรื่องเกี่ยวกับ
การศึกษา ควรอ้างอิงแหล่งที่มาจากกระทรวงศึกษาธิการมากกว่ากระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น ปัจจุบัน
การน าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ประกอบในรายงานมีจ านวนมากขึ้น เนื่องจากการสืบค้นสะดวก ไม่
เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากเท่ากับการเข้าใช้บริการห้องสมุดต่างๆ แต่ข้อควรระวังในการน าข้อมูลจาก
อินเทอร์เน็ตมาใช้ คือควรพิจารณาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น เลือกใช้ฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) หรือเนื้อหาที่แสดงข้อมูลผู้เขียนชัดเจน น่าเชื่อถือ และเราสามารถน ามา
อ้างอิงได้ ย่อมดีกว่าการน าข้อมูลของใครก็ได้ที่แสดงไว้ในเว็บไซต์ทั่วๆ ไป มาใช้ประกอบการท า
3
ศึกษาเพิ่มเติมจากหน่วยการเรียนเรื่อง การสืบค้นข้อมูลและการอ้างอิงเชิงวิชาการ
กลับสู่หน้าสารบัญ