Page 120 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 120

120


                  ประเภทของการวิจัย


                  การจําแนกงานวิจัย สามารถจําแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

                  1. การจําแนกโดยพิจารณา “ลักษณะข้อมูล” สามารถแบ่งงานวิจัยได้ 3 ประเภท


                  1.1 การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าให้เกิดความรู้ ความ เข้าใจในเรื่องใด

           เรื่องหนึ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เพื่อให้เกิดความรอบรู้และความเข้าใจขั้นพื้นฐาน


                  1.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้า การวิจัยขั้นพื้นฐาน ต่อเนื่อง เพื่อ

           นําแนวคิดนั้นๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์


                  1.3 การวิจัยเพื่อพัฒนา (Development  Research)  เป็นการศึกษาค้นคว้า พัฒนา เพื่อให้สินค้า

           บริการนั้น เกิดความเป็นเลิศในคุณสมบัติและคุณภาพตามความต้องการของผู้บริโภค


                  2. การจําแนกโดยพิจารณา “ลักษณะปัญหา” สามารถแบ่งงานวิจัยได้ 3 ประเภท

                  2.1 การวิจัยเชิงค้นคว้า (Exploratory Research) เป็นการวิจัยที่ไม่มีการกําหนด ปัญหาไว้ล่วงหน้า

           ต้องการรวบรวมข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ


                  2.2 การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive  Research)  เป็นการวิจัยที่กําหนดเค้าโครงของ ปัญหาขึ้น

           แล้ว การทําวิจัยจะถูกวางแผนขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ


                  2.3 การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal Research) เป็นการวิจัยที่มีปัญหาระบุมาชัดเจน


                  งานวิจัยจัดทําขึ้นเพื่อหาข้อมูลมาแก้ไขปัญหานั้น หรือเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ไข

           ปัญหานั้นๆ


                  ประเภทชอบการวิจัยตลาด


                  การแบ่งประเภทของการวิจัยการตลาดในที่นี้ได้แบ่งออกเป็น 7 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

                  1 การวิจัยผู้บริโภค (Consumer  Research)  เป็นการวิจัยที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ ลักษณะของ

           ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ รายละเอียดด้านคุณลักษณะ

           ส่วนบุคคล (เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ศาสนา รายได้ รวมทั้ง ข้อมูลที่เกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ

           พฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้า


                  2 การวิจัยเหตุจูงใจ (Motivational Research) ประเมินค่าแรงจูงใจ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติของ

           ผู้บริโภค
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125