Page 147 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 147

147
                  ปัญหาที่พบในการใช้แบบสอบถาม


                  ปัญหาที่พบในการใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

                  1 ปัญหาที่เกิดจากผู้สัมภาษณ์ แม้ว่าแบบสอบถามจะถูกออกแบบเอาไว้อย่างดีและ ก็ตาม ข้อมูลที่

           จะได้จากแบบสอบถามจะถูกต้องหรือมีคุณภาพเพียงไร ผู้สัมภาษณ์ก็มีล่า รับผิดชอบอยู่มาก ขึ้นอยู่กับ

           ความสามารถ ความเข้าใจ ความชํานาญ และประสบการณ์ของ ผู้สัมภาษณ์ เพราะในเหตุการณ์จริงเมื่อออก

           สนาม ผู้ตอบคําถามที่เป็นเป้าหมายมักจะมีปัญหาใน ระหว่างตอบคําถามอยู่เสมอ ผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือได้

           ในขณะนั้นได้ดีที่สุดก็คือผู้สัมภาษา ดังนั้นถ้าผู้สัมภาษณ์มีความสามารถในการช่วยแก้ปัญหาได้ดี คําตอบที่ได้

           ก็จะใกล้เคียงความเป็น จริงมากที่สุด เพราะหากผู้ตอบไม่เข้าใจคําถามอย่างแจ่มชัด ก็จะตอบคําถามด้วย

           ความไม่เข้าใจ หรือไม่ตอบ ดังนั้นก็จะส่งผลให้คําตอบที่ได้ผิดพลาดไป


                  2 ปัญหาที่เกิดจากแบบสอบถาม แบบสอบถามที่ออกแบบมาไว้ล่วงหน้า ถึงแม้ว่าจะ ออกแบบมาดี

           ที่สุดแล้ว แต่ก็มักจะมีข้อผิดพลาดอยู่เสมอ เพราะแบบสอบถามมิได้มีรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งที่ถูกต้องที่สุด

           แต่ผู้ออกแบบจะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่ต้องการ ศึกษาหรือต้องการทราบประเด็นนั้นๆ

                  3 ปัญหาที่เกิดจากผู้ตอบ ความแตกต่างในพื้นฐานของผู้ตอบในทุกๆ ด้าน เช่น ระดับ การศึกษา

           อาชีพ อายุ ความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรม สภาพจิตใจ ล้วนแล้วแต่สามารถทําให้ ความคิดแตกต่างกัน

           ออกไป หากทําการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ดี และเข้าใจความแตกต่างดังกล่าว ผู้ตอบคําถามบางคนไม่เข้าใจใน

           คําถามดี หรือคาดว่าเข้าใจในคําถาม แต่ไม่อยากตอบ หรือไม่มี ข้อมูลพร้อมที่จะตอบ หรือไม่ให้ความร่วมมือ

           ในการตอบ ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาทั้งสิ้น


                  การเตรียมงานเก็บข้อมูลภาคสนาม


                  การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สําคัญมากในการวิจัย ผลของการวิจัยจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการ

           เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนํามาวิเคราะห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีจะทําให้ได้ข้อมูลที่มี ความถูกต้องและ
           เชื่อถือได้ หากข้อมูลที่ได้รับมาไม่ถูกต้อง และขาดความน่าเชื่อถือตั้งแต่ต้นแล้ว ถึงแม้จะใช้เทคนิคการ

           วิเคราะห์ทางสถิติอย่างไรก็ไม่อาจทําให้ผลการวิจัยมีคุณภาพขึ้นมาได้ ผู้วิจัยควรจะรวบรวมข้อมูลให้ตรงกับ

           ปัญหาที่จะทําการวิจัย ข้อมูลที่รวบรวมมานั้นควรจะมี ลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

           สามารถที่จะตอบปัญหาของการวิจัยได้ตามที่ กําหนดไว้ ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมงานสนามเพื่อเก็บรวบรวม

           ข้อมูล ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152