Page 10 - SPaceP สถานีบาลี
P. 10
SpaceP สถานีบาลี 9
บางครั้งพระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์ก็ได้ใช้ศัพท์หรือวลี
ต่างๆ อธิบายบทตั้ง หรือข้อความที่เข้าใจยากให้กระจ่างแจ้งชัดเจน วิธีการใช้ศัพท์
หรือวลีอธิบายบทตั้งนั้นเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้อ่านผู้ศึกษาบาลีเข้าใจความประสงค์ของ
พระพุทธเจ้าพระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์ได้เป็นอย่างดีและมีคุณค่าน่า
ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง วิธีการนั้นเท่าที่ศึกษาดูในอรรถกถาและฎีกา มีศัพท์สำานวนที่ท่าน
ใช้มากดังต่อไปนี้
๑. อิติ วุตฺตำ โหติ
อธิบายความหมายของบทตั้งที่อ้อมค้อมเป็นนัยๆ ให้กระจ่าง 1
พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์ได้อธิบายความหมายของบทตั้งที่
อ้อมค้อมซ่อนเร้น เป็นนัยๆ ซึ่งเข้าใจยากให้กระจ่างแจ้งชัดเจน โดยสรุปความว่า ได้แก่
อรรถนี้ ความหมายนี้ สิ่งนี้ (เนยฺยตฺถ = อธิบายอรรถที่อ้อมค้อมเป็นนัยๆ ให้กระจ่าง
แจ้งโดยสรุปความ) โดยใช้ อิติ วุตฺตำ โหติ
แปลว่า อธิบายว่า, ความว่า, สรุปความว่า, มีคำาที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า
คามธมฺมนฺติ คามานำ ธมฺมำ คามวาสิกมนุสฺสานำ ธมฺมนฺติ วุตฺตำ โหติ. 2
คำาว่า คามธมฺมำ อธิบายว่า ความประพฤติของบ้านทั้งหลาย คือ ความ
ประพฤติของคนทั้งหลายผู้อยู่ในหมู่บ้าน
คำาว่า คาม[ความประพฤติ]หมู่บ้าน ความหมายยังอ้อมค้อมเข้าใจยาก
อยู่ ท่านจึงได้อธิบายให้ชัดแจ้งต่อไปว่า คามวาสิกมนุสฺสานำ ได้แก่ คนทั้งหลายผู้อยู่ใน
หมู่บ้าน โดยใช้ อิติ วุตฺตำ โหติ คาม (บ้าน) ท่านอธิบายว่า หมายถึง ชาวบ้านทั้งหลาย
(คามวาสิกมนุสฺสานำ) เพราะอาจมีบางคนเข้าใจผิดว่า หมายถึง บ้านหรือหมู่บ้าน
เตน หีติ อุยฺโยชนตฺเถ นิปาโต. คจฺฉ สมฺม ชีวกาติ วุตฺตำ โหติ. 3
1 พระอาทิจจรังสีมหาเถระ, คัมภีรัตถนิยามวิสสัชชนา, เล่มที่ ๓, พิมพ์ครั้งที่ ๒,
(ย่างกุ้ง: โรงพิมพ์ชัมพูมิตสเวปิฏกัต, ๒๔๗๙), หน้า ๔๔.
2 วิ.มหา.อ. (บาลี) ๑/๓๙/๒๓๑.
3 ขุ.ขุ.อ. (บาลี) ๑/๑๙๒/๖., วิ.อ. (บาลี) ๑/๓๙/๒๓๑.
คัมภีรญาณ