Page 12 - SPaceP สถานีบาลี
P. 12
SpaceP สถานีบาลี 11
อรรถนี้ ความหมายนี้ ทำาให้ผู้ศึกษาเข้าใจแจ่มแจ้ง
อิติ วุตฺตำ โหติ ท่านใช้เพื่ออธิบายอรรถของบทให้กระจ่างแจ้ง(ปทปิณฺฑตฺถ
= ไขใจความของบท, อุชุกตฺถ = ไขอรรถให้กระจ่างแจ้ง)
พฺรหฺมจริยนฺติ เสฏฺฏฺเน พฺรหฺมภูตำ จริยำ. พฺรหฺมภูตานำ วา พุทฺธาทีนำ
จริยนฺติ วุตฺตำ โหติ. 7
คำาว่า พรหมจรรย์(พฺรหฺมจริยำ) อธิบายว่า ความประพฤติอันดีงาม เพราะ
อรรถว่า ประเสริฐ อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติของบัณฑิตผู้ประเสริฐมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้น
เพื่อจะแสดงความหมายของบทว่า พฺรหฺมจริยำ ให้กระจ่างชัด ท่านใช้ อิติ
วุตฺตำ โหติ อธิบายว่า พรหมจรรย์ หมายถึง (๑) ความประพฤติที่ประเสริฐ เป็นวิเสสน-
บุพพบทกัมมธารยสมาส (๒) ความประพฤติของบัณฑิตผู้ประเสริฐ เป็นฉัฏฐีตัปปุริส-
สมาส ทำาให้ความหมายกระจ่างแจ้งชัดเจนขึ้น คำาว่า เสฏฺ ใน เสฏฺฏฺเน อธิบาย
พฺรหฺม ในพฺรหฺมจริยำ ว่า แปลว่า ประเสริฐ เพราะ พฺรหฺมศัพท์มีอรรถมาก
๒. สิทฺธำ
อธิบายความของบทที่ซ่อนเร้นให้ชัดเจน 8
แปลว่า สำาเร็จแล้ว
“อตฺถาปตฺติ ทิวา อาปชฺชติ โน รตฺติ”นฺติ อิมินาปิ เจตำ สิทฺธำ.
9
ก็คำาว่า ภิกษุนอนกลางวันไม่ปิดประตูต้องอาบัติทุกกฎ นี้ สำาเร็จแล้วแม้
ด้วยคำานี้ว่า “อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลากลางวัน ไม่ต้องในเวลากลางคืนมีอยู่”
อธิบายว่า ในตัวอย่างนี้ คำาว่า สิทฺธำ (สำาเร็จ) เป็นคำาอธิบายความซ่อนเร้น
ว่า ถึงแม้พระพุทธเจ้าไม่ตรัสไว้โดยตรงว่า ภิกษุนอนพักกลางวันไม่ปิดประตูต้องอาบัติ
ชื่อนี้แต่ก็รู้ได้โดยอ้อมว่า ต้องอาบัติทุกกฎ ด้วยคำาว่า อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลากลางวัน
7 ที.อ. (บาลี) ๑/๑๙๐/๑๖๒.
8 หนังสือ “ชวยเยซองนิยาม” หน้า ๓๔๔
9 วิ.ม.อ.(บาลี) ๑/๗๗/๓๐๑.
คัมภีรญาณ