Page 86 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 86
82
กับอาหารพวกเนื้อ ปลา ผลไม้และเมล็ดธัญพืช เป็นต้น และการทําแห้ง
โดยอาศัยเครื่องทําแห้ง โดยการส่งผ่านความร้อนเข้าไปในอาหารโดยการ
นําหรือ การพา ทําให้นํ้าในอาหารกลายเป็นไอระเหยออกไปจึงสามารถ
ควบคุมอัตราเร็วการทําแห้งได้ อาหารที่ได้มีคุณภาพดีกว่าวิธีธรรมชาติ
4) การถนอมอาหารโดยวิธีการฉายรังสี (Preservation By
Radiation) โดยใช้รังสีแกมมา ทําให้ยืนของจุลินทรีย์ผิดปกติ ไม่อาจแพร่
พันธุ์ต่อไปได้อีก ขณะเดียวกันจะทําให้นํ้าแตกตัวทําลาย จุลินทรีย์ได้อีก
ต่อหนึ่ง นอกจากนั้นยังยึดอายุการเก็บของอาหาร ป้องกันอันตรายจาก
เชื้อโรคและพยาธิ บางชนิดได้ สงวนคุณค่าทางอาหาร อาหารที่นํามาฉาย
รังสีมีทั้งเนื้อ สัตว์ปีก ปลา ผักผลไม้ ธัญพืช ฯลฯ ปริมาณรังสีที่ใช้จะ
แตกต่างกันไปตามชนิดของอาหารและวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี
5) การใช้ความดัน (Preservation By Pressure) เป็นการทําลาย
จุลินทรีย์และหยุด การทํางานของเอนไซม์
4.2 กำรจัดกำรอำหำรอย่ำงเหมำะสม
จุลินทรีย์เติบโตใน “โซนอุณหภูมิอันตราย (Temperature
Danger Zone - D2 ที่ 5°C ถึง 56.7C ซึ่งอยู่ในขอบเขตอุณหภูมิห้อง
ธรรมดาด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรทําการเก็บรักษาอาหาร อย่างเหมาะสม
และหลีกเลี่ยงการทิ้งอาหารไว้ในที่โล่งโดยไม่มีการดูแล ไม่ควรเก็บอาหาร
ไว้ที่อุณหภูมิ TDZ นานกว่า 4 ชั่วโมง เพราะเป็นเวลาที่เพียงพอที่สารพิษ
จากตัวก่อโรคจะเพิ่มจํานวนทวีคูณและ ปนเปื้อนในอาหาร รวมถึง
ออกซิเจนและความชื้นจะช่วยให้จุลินทรีย์เติบโตอย่างรวดเร็ว ควรหา