Page 44 - คณิตศาสตร์และสถิติเพื่องานอาชีพ
P. 44
38
จํานวนสมาชิกของ เหตุการณ์ E
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วย P(E)
( )
โดย P(E) = และ 0 ≤ P(E) ≤ 1
n(S)
ถ้า P(E) = 0 หมายถึง เหตุการณ์ E จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ถ้า P(E) = 0.5 หมายถึง โอกาสที่จะเกิด หรือไม่เกิด เหตุการณ์ E มีค่าเท่ากัน
ถ้า P(E) = 1 หมายถึง เหตุการณ์ E จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
จากที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่า ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1
เท่านั้น
ตัวอย่างที่ 3.4
1. กล่องใบหนึ่งมีลูกปิงปอง 9 ลูก ที่มีหมายเลข 1, 2, ..., 9 ตามลําดับ สุ่มหยิบ
ลูกบอล 1 ลูก 1 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นที่ลูกบอลนั้น
(1) มีหมายเลขเป็นจํานวนคู่
(2) มีหมายเลขหารด้วย 3 ลงตัว
วิธีทํา
S = {1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9}, n(S) = 9
(1) เหตุการณ์ของหมายเลขเป็นจํานวนคู่
E = {2, 4, 6, 8}, n(E) = 4
4
ดังนั้น P(E) =
9
4
ความน่าจะเป็นลูกบอลนั้นมีหมายเลขเป็นจํานวนคู่เท่ากับ
9
(2) เหตุการณ์ที่หมายเลขกํากับหารด้วย 3 ลงตัว
E = {3, 6, 9}, n(E) = 3
3
ดังนั้น P(E) =
9
3
ความน่าจะเป็นที่ลูกบอลมีหมายเลขที่หารด้วย 3 ลงตัวเท่ากับ
9