Page 71 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 71

57


                                     (5)  องค์การบริหารส่วนต าบล ได้จัดสรรงบประมาณในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
                       อย่างไร
                                     (6)  ท่านคิดว่าผู้สูงอายุจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร
                                     (7)  ท่านจะมีแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุเข้ามาด าเนินงานดูแลสุขภาพ

                       ตนเองได้อย่างไร

                                 ในสัปดาห์ที่ 5 คณะผู้วิจัยน าผลจากกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม มาน าเสนอสุข

                       ภาวะในภาพรวมให้กลุ่มผู้สงอายุรับฟังเพื่อให้เกิดความตระหนัก รับรู้สุขภาวะโดยรวมของกลุ่ม
                       ตัวอย่าง คณะผู้วิจัยได้เรียนเชิญเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขประจ าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลเทพ
                       มงคลมาให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ นิมนต์พระคุณเจ้า มาให้ความรู้เรื่องหลักพุทธธรรม

                       ได้แก่ พละ 5 อิทธิบาท 4 และภาวนา 4 นิมนต์พระวิปัสสนาจารย์ได้แนะน าแนวทางการฝึกปฏิบัติทั้ง
                       สมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน น าเสนอภาพวีดิทัศน์ เรื่องการฝึกสมาธิบ าบัด k1- k5 พร้อม
                       ทั้งน าเสนอ(ร่าง)รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา
                       เมื่อที่ประชุมให้ความเห็นชอบตาม(ร่าง) คณะผู้วิจัย จึงได้สร้างแบบสัมภาษณ์(เครื่องมือวิจัย) เพื่อใช้
                       ในการเก็บข้อมูลต่อไป

                                 ในสัปดาห์ที่ 6 – 7 น าแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จาก
                       ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมกับรูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่ไม่ใช่
                       กลุ่มตัวอย่างในหมู่ที่ 1 ต าบลเทพมงคล ท าการสัมภาษณ์ ท าการฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามตาราง  เป็น

                       เวลา 2 สัปดาห์ คณะผู้วิจัย ท าการประเมินเครื่องมือด้วยการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ แล้ว
                       น าไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ต่อไป
                                 ในสัปดาห์ที่ 8 น ารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม ไปใช้กับกลุ่ม
                       ตัวอย่างได้ปฏิบัติตามตารางกิจกรรม ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 ถึงสัปดาห์ที่ 20

                                 3  ระยะประเมินผล มีรายละเอียด ดังนี้
                                 คณะผู้วิจัยท าการประเมินผลด้านระดับความรู้และระดับผลฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพ

                       ผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม ครั้งที่ 1 (ในสัปดาห์ที่ 20) ตามหลัก กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา
                       และปัญญาภาวนา โดยร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ท าการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างรวบรวมข้อมูล
                       และข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค ด าเนินการทบทวนและปรับปรุงตารางการปฏิบัติกิจกรรมใน 4 มิติ

                       คือ พัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา แล้วท าการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ
                       ผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม ให้สอดคล้องกับบริบทของขุมขน สังคม ประเพณี วัฒนธรรมและ
                       ศักยภาพของผู้สูงอายุ
                                 ในสัปดาห์ที่ 21  กลุ่มตัวอย่างลงมือปฏิบัติตามกิจกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 21 ถึงสัปดาห์ที่
                       33 ท าประเมินสุขภาวะ9 รายการ ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน(ปฏิบัติการทางชีวะเคมี เจาะเลือดที่ปลาย

                       นิ้วครั้งที่ 1)
                                 ในสัปดาห์ที่ 43  คณะผู้วิจัยนัดกลุ่มตัวอย่าง ท าการประเมินตามแบบประเมินระดับ
                       ความรู้ การประเมินระดับผลฝึกปฏิบัติตามหลัก กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา

                       และการประเมินสุขภาวะ 9 รายการ ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน (ปฏิบัติการทางชีวะเคมี เจาะเลือดที่
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76