Page 67 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 67
53
2. มีความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจ
3. ความเสื่อมที่เกิดจะเพิ่มขึ้นตามล าดับ และ
4. การเปลี่ยนแปลงต่างๆจะบังเกิดให้ผู้สูงอายุเห็นว่าเป็นความเสื่อมถอย เริ่มมีข้อจ ากัด
ทั้งตนเองและสังคม ซึ่งผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี จะใช้การปรับตัวที่เป็นคุณ บางคนอาจหาทางออกด้วย
การเริ่มต้นชีวิตใหม่ งานใหม่ หรือยอมรับเงื่อนไจตามวัยของตน การปรับตัวของผู้สูงอายุต่างจากวัย
อื่นทั้งที่เป็นการปรับตัวเหมือนกัน
มนุษย์ทุกคนปรารถนาการมีอายุยืน ต้องการมีชีวิตให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความมี
อายุเป็นธรรมชาติที่ไม่อาจยับยั้งได้นอกจากโรคหรืออุบัติเหตุจะคร่าชีวิตไปก่อนวัยสมควร โดย
ธรรมชาติของชีวิตแล้วคนมีอายุยืนได้ไม่ต่ ากว่า 100 ปี ปัจจัยที่ท าให้คนเหล่านั้นมีอายุยืนอยู่ที่การมี
สุขภาพดี และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่รื่นรมย์ มีอากาศบริสุทธิ์เป็นหลัก อย่างน้อยก็ช่วยให้ผู้สูงอายุมีชีวิต
อยู่ได้ปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่นๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัย หรือสร้างความล าบากให้แก่ครอบครัว
หรือสังคมที่ตนอยู่ด้วย มีกลุ่มทฤษฏีอยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความคิดต่างกันแต่เป็นนัยเดียวกัน ว่าแท้จริงอายุ
ยืนอยู่ที่กายกับจิตที่จะท าให้เกิดการ “ยืน”
จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมุ่งหวังให้ผู้สูงวัยสามารถยืนอายุได้ยาวขึ้น เพื่อไม่
สร้างความล าบากให้กับครอบครัวหรือสังคม ด้วยการน าหลักพุทธธรรมที่พัฒนาจิตให้เกิดความเชื่อมั่น
ว่าผู้สูงอายุสามารถท าได้ด้วยตนเอง เกิดความตระหนักรับรู้เรื่องการปฏิบัติตนด้านการด้วยหลักธรรม
ที่เรียกว่าพละ 5 (Awareness) ต่อจากนั้นก็น าหลักธรรมอิทธิบาท 4 (Attempt) เพื่อให้เกิดความพึง
พอใจ และความพยายามที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนา ด้วยหลักธรรม
ภาวนา 4 (Action) ตามตารางปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันจากข้อตกลงร่วมกันของผู้สูงวัย มีลักษณะ
ยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดปฏิกิริยา ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน(สารแห่งความสุข) กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันใน
ร่างกายให้ท างานดีขึ้น ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และมีสุขภาพดี/แข็งแรง/อายุยืน
(Achievement
2.10 กรอบการวิจัย
กรอบในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สรุปโดยถอดองค์ความรู้และบทเรียนรูปแบบการ
ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากงานวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรม น าไปบูรณาการกับวิถี
ชีวิตและบริบทของชุมชน ก าหนดรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง ดังแสดงในตารางภาพที่ 2.1