Page 65 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 65
51
ในเลือด(การเจาะเลือดจากปลายนิ้ว) และโรคประจ าตัว กับผู้สูงอายุในชุมชนบางพระ จ านวน 48 คน
ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะโภชนาการและ สุขภาพของผู้สูงอายุ โดยมีแกนน าสุขภาพ
เป็นกลไกหลักในการให้โภชนศึกษาแบบวงน้ าชา ให้มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยเริ่มต้นจากสิ่ง
ที่ง่าย ไปจนถึงการสร้างกิจกรรมที่สนใจร่วมกันกับผู้สูงอายุ และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการ
ดูแลภาวะโภชนาการและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ได้พัฒนาขึ้น โดย (1) ประเมินสถานะสุขภาพ
กายและแบบแผนการบริโภค และชีวเคมีในเลือดซ้ า วิเคราะห์เปรียบเทียบชุดข้อมูลทั้ง 2 โดยใช้สถิติ
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Standard Deviation, Wilcoxon Sign Rank Test และ (2) ถอดบทเรียนการ
เรียนรู้จากผู้เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสามมีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน คือ
มีดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสัดส่วนเอวกับสะโพกเกินเกณฑ์ ปริมาณไขมันในเลือดอยู่ในระดับสูง
และชุมชน นี้อยู่ในแหล่งอาหารทะเล กลุ่มเสี่ยงทั้งหมดเข้าร่วมก าหนดรูปแบบการดูแลโดยมีแกนน า
สุขภาพและ สมุดบันทึกรายการอาหารและร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบผลค่าความ
ดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ าตาลในเลือด และค่าไขมันในเลือดโดยรวม ก่อนและหลังการ
ทดสอบรูปแบบ ด้วยสถิติ Wilcoxon Sign Rank test พบว่าผู้สูงอายุ มีค่าบ่งชี้สุขภาพดีขึ้นอย่างมี
นัยส าคัญ (p<0.05) ส าหรับค่า Mean arterial pressure ค่าดัชนีมวลกาย และค่า Triglyceride มี
การเปลี่ยนแปลงอย่าง ไม่มีนัยส าคัญ
46
พระสุนทรกิตติคุณ ท าการวิจัยเรื่อง หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมใน
ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นวัยแห่งความเสื่อมถอย แนวคิดทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงองค์ประกอบใน
การด าเนินชีวิตที่มีองค์รวม 3 ด้าน มีชื่อว่า ไตรสิกขา กล่าวคือ (1) การพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับ
สิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เรียกรวมกันว่า ศีล (2) การพัฒนา
ด้านจิต และสุขภาพให้เป็นจิตใจที่ดีงาม เข้มแข็ง มีความสุข โดยมีเจตจ านงที่เป็นกุศล และมีสภาพ
เอื้อพร้อมต่อการใช้งานทางปัญญา เรียกสั้นๆ ว่า สมาธิ (3) การพัฒนาด้านปัญญา ซึ่งการด าเนินชีวิต
เป็นองค์รวมทั้ง 3 ดังนั้น ต้องอาศัยความสัมพันธ์และเชื่อมโยงถึงกันอย่างต่อเนื่อง และแนวคิดหลัก
ไตรสิกขา สามารถน ามาพัฒนา 4 ด้าน คือ ภาวนา 4 การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุสู่การด าเนินชีวิตที่
ดีงามได้นั้น หลักไตรสิกขาเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถน าไปพัฒนา 4 ด้าน คือ ภาวนา 4
ประกอบด้วย กายภาวนา คือ การดูแลตนเองด้ายกายภาพ ศีลภาวนาคือ การดูแลตนเองด้าน
สัมพันธภาพกับผู้อื่น จิตภาวนา คือการดูแลสภาพจิตใจตนเอง และปัญญาภาวนา คือการคิดพิจารณา
ทุกสิ่งทุกอย่างอย่างรอบคอบ บุคคลที่ปฏิบัติตามหลักภาวนา 4 ย่อมส่งผลให้มีความสุขดีตามมา
เพราะเป็นการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมอย่างแท้จริง
47
เจริญ ช่วงชิต ท าการการศึกษาเรื่อง สมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลการศึกษา
พบว่า สมาธิ หมายถึง การมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียวในทางกุศล มีปัญญารู้ เข้าใจสิ่งทั้งหลายตาม
ความเป็นจริง เป็นสมาธิที่ควรคู่แก่การใช้งาน สมาธิมี 3 ระดับ คือ ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิขั้นต้นที่คน
46 พระสุนทรกิตติคุณ, “หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ 12” วารสารมหา
จุฬาวิชาการ, ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2560),หน้า 13 -25.
47 เจริญ ช่วงชิต “เรื่องสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท” พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.