Page 66 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 66
52
ทั่วไป อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์ 5 และอัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิ ระดับสูงสุด ส าหรับ
หลักการเจริญสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทมี 2 แบบ คือ (1) สมถกรรมฐาน เป็นการ
ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบจนตั้งมั่นเป็นสมาธิ และ(2)วิปัสสนากรรมฐาน เป็นข้อปฏิบัติในการฝึกฝน
อบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งในรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ การปฏิบัติสมาธิจึงเป็นวิธีการ
ที่จะขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้ดีได้ เป้าหมายของการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาทมี 2 อย่าง
คือ เป้าหมายหลักหรือ เป้าหมายสูงสุดของการฝึกสมาธิ คือ ความหลุดพ้น ประกอบด้วย (1) เจโต
วิมุตติ เป็นความหลุดพ้นทางจิต (2) ปัญญาวิมุตติ เป็นความหลุดพ้นด้านปัญญา โดยที่เจโตวิมุตติเป็น
ผลจากการเจริญสมถะ และปัญญาวิมุตติเป็นผลที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา และเป้าหมายรองที่ให้
ความส าคัญในเรื่อง การน าสมาธิไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ในชีวิตประจ าวัน มีการน า
สมาธิไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจ าวันหลากหลายด้าน เช่น การพัฒนาด้านจิตใจ การ
พัฒนาด้านร่างกายและพฤติกรรม การพัฒนาด้านปัญญา การพัฒนาด้านสังคม โดยการพัฒนาที่ได้
ยกตัวอย่างนั้น เป็นที่ปรากฏเป็นเชิงประจักษ์ตามแนวทางวิทยาศาสตร์เชิงพุทธ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
ว่าสมาธิ น ามาใช้และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติได้จริง
48
กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ ท าการวิจัยเรื่อง ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และ
การท าสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการทดลองของกลุ่มสวดมนต์ และกลุ่มท าสมาธิแบบอานาปานสติ มีค่าเฉลี่ย
คะแนนความเครียด ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.
05
2. ค่าเฉลี่ยของคลื่นสมองอัลฟ่า และเบต้า ภายในทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลอง ระหว่าง
การทดลองในนาทีที่ 5, 10, 15, 20, 25, 30 และหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 โดยคลื่นสมองอัลฟ่าในกลุ่มสวดมนต์เริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 5-10 เป็นต้นไป
และคลื่นอัลฟ่าในกลุ่มท าสมาธิเริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 0-5 เป็นต้นไป
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการสวดมนต์ และการท าสมาธิแบบอานาปานสติมีผลท าให้ลด
ระดับความเครียดลงได้ โดยการสวดมนต์สามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีที่ 5
เป็นต้นไป ส่วนการท าสมาธิแบบอานาปานสติสามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาที
แรกจนถึงนาทีที่ 5
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุทั่วไปจะมีการ
เปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและสมรรถภาพท าให้มีผลโดยตรงต่อสภาวะจิตใจ เพราะลักษณะการ
เปลี่ยนแปลงของวัยสูงอายุจะเป็นการลดอัตราความเจริญลงไปสู่ความเสื่อม ซึ่งท าให้
1. มีผลกระทบอย่างมากทั้งตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม
48 กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ “ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการท าสมาธิแบบอานา
ปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556.