Page 12 - Thai words in old&new theory
P. 12

9

                   บอกผู้รับผลประโยชน์          เช่น   โรงเรียนมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนเรียนดี
                   บอกเวลา                      เช่น   โรงเรียนจะเริ่มจัดกิจกรรมตั้งแต่เก้าโมงจนถึงบ่ายสามโมง

                   บอกเครื่องมือที่ใช้ทำ        เช่น   เล็บจะต้องตัดโดยกรรไกรตัดเล็บ

                   บอกสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบ   เช่น   ผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิง


            9. คำเชื่อม คือ  คำที่ใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคเข้าด้วยกัน

                   มี 4 ชนิด ดังนี้
                   9.1 คำเชื่อมสมภาค คือ  ใช้เชื่อมหน่วยทางภาษา 2 หน่วยขึ้นไป ภาษาที่เชื่อมต้องเป็นหน่วยภาษาเดียวกัน

                        คือ คำนามกับคำนาม หรือคำกริยากับคำกริยา เป็นต้น คำเชื่อมสมภาคได้แก่ กับ (กะ) และ หรือ แต่
                        เช่น น้ำกับน้ำมันเข้ากันไม่ได้ (คำนามกับคำนาม)

                   9.2 คำเชื่อมอนุประโยค คือ  นำหน้าอนุประโยคซ้อน มีคำเชื่อมอนุประโยค 3 ชนิด

                          9.2.1 ) คำเชื่อมนามานุประโยค   ได้แก่ ที่ ว่า ให้ ที่ว่า เช่น เขาพูดว่าเขาจะมา
                          9.2.2 ) คำเชื่อมคุณานุประโยค   ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน  เช่น เด็กที่ได้รับรางวัลเป็นรุ่นน้องของฉัน

                          9.2.3 ) คำเชื่อมวิเศษณานุประโยค มี 2 ประเภทตามตำแหน่งที่ปรากฎ
                                 1. ปรากฏหลังประโยคหลัก ได้แก่ เพราะ ถ้า จนกระทั่ง เมื่อ ขณะที่ ฯลฯ

                                         เช่น  เขาไม่มาทำงานเพราะลูกไม่สบาย

                                 2. ปรากฏต้นประโยค ได้แก่ จึง เลย ถึง ก็ เช่น ถึงฝนตก ก็ต้องออกไปทำงาน
                                                                                         ์
                   9.3 คำเชื่อมเสริม คือ คำเชื่อมที่มีขึ้นเพื่อเสริมให้หน่วยภาษา ๒ หน่วยมีความสัมพันธกันชัดเจนขึ้น
                         ได้แก่ จึง เลย ถึง ก็ ได้แก่ จึง เลย ถึง ก็

                         คำเชื่อมเสริมอาจปรากฏใน
                          ประโยคสามัญ   มักปรากฏหน้าประโยคสามัญ จะใช้เชื่อมกับสถานการณ์หรือสิ่งที่กล่าวก่อนหน้า

                          ปรากฏคำวิเศษณ์แสดงคำถามต้นประโยค ได้แก่ จึง ถึง

                          ปรากฏคำสรรพนามแยกส่วน “ต่าง,บ้าง” จะมีคำเชื่อมเสริมคือ “ก็”
                                 เช่น  บ้างก็กิน บ้างก็นอน   เราต่างก็โตๆ กันแล้ว

                          ประโยครวม   คำเชื่อมจะปรากฏระหว่าง 2 ประโยค เช่น เขาเป็นไข้และก็เจ็บคออย่างหนัก
                          ประโยคซ้อน  ปรากฏหลังคำเชื่อมสมภาคแหน้าคำเชื่อมนามานุประโยค

                                         ปรากฏหน้ากริยาวลีในประโยคหลัก   เช่น เมื่อไม่สบาย ก็ควรนอนพักผ่อนให้มากๆ

                   9.4 คำเชื่อมสัมพันธสาร คือ การรวมประโยค 2 ประโยคขึ้นไปให้กลายเป็นพันธสารเดยว ได้แก่ กล่าวคือ
                                                                                          ี
                            อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ดี อย่างไรเสีย แม้กระนั้น ในที่สุด ทว่า แต่ทว่า ทั้งนี้ อนึ่ง ฯลฯ


             หมายเหต   ในคำเชื่อมพันธสารบางคำมีรูปซ้ำกับคำเชื่อมอื่น เช่น และ แล้ว ก็
                     ุ
   7   8   9   10   11   12   13   14