Page 8 - Thai words in old&new theory
P. 8
5
คำในภาษาไทย
การแบ่งชนิดของคำในภาษาไทยตามในหนังสือหนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3
มีการจำแนกคำในภาษาไทยออกเป็น 12 ชนิด โดยใช้เกณฑ์หน้าที่ เกณฑ์ตำแหน่งที่ปรากฏและสัมพันธ์กับคำอื่น
และเกณฑ์ความหมายประกอบกัน คำทั้ง 12 ชนิด ได้แก่
1. คำนาม คือ คำที่หมายถึงบุคคล สัตว์ วัตถุ สิ่งของ สภาพธรรมชาติ สถานที่ ความคิด ความเชื่อ
จำแนกคำนามเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.1 คำนามสามัญ : คำนามที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ ทั่วไป เช่น คน บ้าน วัด นักเรียน ซึ่งคำนามสามัญ
อาจมีความหมายแคบหรือกว้างต่างกัน เช่น ผลไม้ ทุเรียน มะม่วง เป็นต้น
1.2 คำนามวิสามัญ : คำที่เป็นชื่อซึ่งตั้งขึ้นเฉพาะสำหรับคำเรียกคำนามสามัญหนึ่งๆ เช่น ชื่อเฉพาะ
คน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นนามสามัญที่ไม่มีชื่อเฉพาะ
1.3 คำลักษณนาม : คำที่ใช้บอกลักษณะของคำนามหรือคำกริยา
- อาจปรากฏอยู่ข้างหน้าหรือติดกับคำนาม เช่น ฝูงผึ้งเข้าจู่โจมศัตรูทันที
- คำที่บอกลักษณะของคำกริยาจะปรากฏหลังและติดกับคำกริยา เช่น ขอกอดที
- คำลักษณนามที่ปรากฏหลังคำนามและคำกริยาที่แสดงความหมายว่า “หนึ่ง” เช่น ขอจานให้ใบสิ
นอกจากปรากฏหลังคำนามและคำกริยาแล้ว ยังสามารถปรากฏในตำแหน่งๆ ที่แน่นอน ดังนี้
ปรากฏหน้าคำบอกลำดับ เช่น บ้านหลังแรก
ปรากฏหน้าคำกริยาคุณศัพท์ เช่น รอเที่ยวพิเศษ
ปรากฏหน้าคำบอกกำหนดชี้เฉพาะ เช่น ลูกคนนี้
ปรากฏหน้าคุณานุประโยค เช่น แมวตัวที่นอนอยู่นั่น
ปรากฏหลังคำบอกจำนวน เช่น เก้าอี้ 10 ตัว
คำลักษณนามที่ใช้บอกลักษณะอาจมีรูปคำเหมือนคำนามหรือต่างคำนาม
คำนามที่มีรูปเหมือนคำนาม เช่น คนเรามีนิ้วมือ 10 นิ้ว
คำลักษณนามที่มีรูปต่างจากคำนาม เช่น ห้องฉันมีหน้าต่าง 10 บาน
คำนามเดียวกันอาจใช้ลักษณนามได้หลายคำ เช่น
ผ้า : ชิ้น, ผืน, หลา, ห่อ, พับ, ชนิด
นักเรียน : คน, แถว, ห้อง, ชั้น, โรงเรียน, กลุ่ม
หนังสือ : หน้า, เล่ม, ตั้ง, ชุด, มัด, ประเภท
คำนามคำเดียวกันแต่ไม่แสดงลักษณะของคำนามที่ต่างกัน นอกจากนั้นคำลักษณะของคำกริยามีรูป
ต่างกับคำกริยาเสมอ ซึ่งจะใช้บอกความหมายต่างๆ ทั้งลักษณะของกริยา จำนวนครั้งของการทำและลำดับของ
การกระทำกริยา