Page 5 - Thai words in old&new theory
P. 5

2

                   2.5 วิภาคสรรพนาม  คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแยกนามนั้นออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่
                         คำว่า  ต่าง  บ้าง  กัน  บรรดา  เช่น

                                   “นักเรียนต่างคนต่างเดินทางกลับบ้าน”

                                 (นักเรียนมีหลายคน  นักเรียนแต่ละคนเดินทางกลับบ้านโดย ต่าง  แทน  นักเรียน)
                                   “พี่กับน้องไปโรงเรียนดวยกัน”
                                               ้
                                 (คำว่า  กัน  ในที่นี้แสดงจำนวนหลายคนที่ร่วมกระทำ)

                   2.6 ประพันธสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า  โดยทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้เป็น
                        ประโยคเดียวกัน  ได้แก่คำว่า  ที่  ซึ่ง  อัน  ผู้  เช่น

                                 “รถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นประหยัดน้ำมันมาก”
                                  (ที่  เป็นคำสรรพนามที่แทนคำนาม รถยนต์)

                                   “เขาเป็นคนดีอันเกิดจากการอบรมของพ่อแม่”

                                 (อัน  เป็นคำสรรพนามที่แทนคำนาม  คนดี)


            3. คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม เพื่อให้ทราบว่าภาคประธานนั้นทำอะไร มีอาการอย่างไร
                   ชนิดของคำกริยา มี 4 ชนิด

                   3.1 อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีใจความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องมีกรรมมารับ

                   3.2 สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีใจความไม่สมบูรณ์ ต้องมีกรรมมารองรับ
                   3.3 วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ไม่มีความชัดเจน จึงต้องการนามหรือสรรพนามมารองรับ

                                       ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า

                   3.4 กริยานุเคราะห์ คือ กริยาที่ช่วยขยายกริยาอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขี้น ได้แก่ คง กำลัง จะ ต้อง อย่า
                                         ควร ได้ แล้ว



            4.คำวิเศษณ์  คือ คำที่มีความหมายบ่งชี้ลักษณะต่างๆ เช่น ขนาด สัณฐาน สี กลิ่น รส ฯลฯ
                   ชนิดของคำวิเศษณ์ มี 10 ชนิด

                   4.1 ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกลักษณะ ชนิด สี ขนาด สัณฐาน รส กลิ่น เสียง ความรู้สึก
                        ได้แก่ ใหญ่ เล็ก เร็ว ช้า หอม เหม็น เปรี้ยว หวาน ดี ชั่ว ร้อน เย็น ฯลฯ

                                               ่
                           ตัวอย่าง   ผักสดมีประโยชน์ตอร่างกาย        น้องสูงพี่เตี้ย
                   4.2 กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลาในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เช้า สาย บ่าย เย็น
                        ตัวอย่าง  เขาไปทำงานเช้า     เย็นนี้ฝนคงจะตก

                   4.3 สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่ ระยะทาง ได้แก่ ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา
                        หน้า หลังฯลฯ

                        ตัวอย่าง    พี่เดินข้างหน้า       น้องเดินข้างหลัง       แจกันอยู่บนโต๊ะ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10