Page 10 - Thai words in old&new theory
P. 10

7

                          3.1.2 คำกริยาทวิกรรม คือ มีนามวลี 2 วลีตามหลัง นามวลีแรกเป็นกรรมตรง นามวลีที่สองเป็น
                                  กรรมรอง   เช่น   พ่อให้เงินลูก

                   3.2 ประเภทที่ไม่มีหน่วยกรรม

                          3.2.1 คำกริยาอกรรม คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีนามวลีตามหลัง เช่น นักเรียนหัวเราะ
                          3.2.2 คำกริยาคุณศัพท์ คือ  คำกริยาที่ไม่ต้องมีนามวลีตามหลัง และเป็นคำกริยาที่แสดงคุณสมบัติ

                                  หรือสภาพของคำนามหรือคำบุรุษสรรพนาม

                          คำกริยาคุณศัพท์มีความคล้ายกับกริยาอกรรมมาก แต่ต่างกัน 2 ประการ คือ คำกริยาคุณศัพท์สามารถ
                   ใช้ร่วมกับคำว่า “กว่า, ที่สุด,” ได้ เช่น ม้าตัวนั้นสวยที่สุด และคำกริยาคุณศัพท์ปรากฏตามหลังคำลักษณนามได้

                                                      ้
                   แต่กริยาอกรรมไม่สามารถปรากฏหลังคำได  เช่น บ้านแถวนี้สวยทุกหลังเลย
                          3.2.3 คำกริยาต้องเติมเต็ม คือ คำกริยาที่ต้องมีนามวลีเป็นหน่วยเติมเต็มตามหลังเสมอ ได้แก่

                                  เป็น เหมือน  คล้าย เท่า ใช่ มี เกิด ปรากฏ เช่น เขาเหมือนแม่มาก

                          3.2.4 คำกริยานำ คือ  คำกริยาที่ต้องปรากฏนำหน้ากริยาอื่นเสมอ เราพยายามเตือนแล้ว
                          3.2.5 คำกริยาตาม คือ  คำกริยาที่ปรากฏตามหลังคำกริยาอื่นเสมอ บางคำมีรูปเหมือนคำกริยา

                                  อกรรมและและคำกริยาสกรรม เช่น ลูกโป่งค่อยๆ ลอยขึ้น


            4. คำช่วยกริยา  คือ คำที่ไม่ใช่คำกริยาและไม่ปรากฏตามลำพัง แต่จะปรากฏร่วมกับคำกริยาและอยู่หน้าคำกริยาเสมอ

            เพื่อบอกความหมายทางไวยากรณ์ ได้แก่
                                      ี
                   บอกกาลเวลาว่าเป็นอดตหรืออนาคต       เช่น   ผมกำลังเรียนหนังสือ (บอกปัจจุบัน)
                   บอกการคาดคะเน ขอร้อง บังคับ         เช่น   โปรดรักษาความสะอาด (ขอร้อง)

                   บอกการเป็นผู้รับการกระทำ            เช่น   เจ้าตูบโดนขัง
                   บางคำช่วยกริยาบางคำมักใช้ร่วมกับคำว่า ไม่ เพื่อบอกความปฏิเสธ



            5. คำวิเศษณ์    คือ คำที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายกริยา มักปรากฏหลังหน่วยกริยา
                   แบ่งเป็น 4 ชนิด ดังนี้

                   5.1 คำวิเศษณ์สามัญ คือ คำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาโดยทั่วไป เช่น เพื่อน ๆ เดินอย่างเร็ว
                   5.2 คำวิเศษณ์ขยายเฉพาะ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำกริยาคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ จะแสดงลักษณะเฉพาะ

                        อย่างใดอย่างหนึ่งของคำกริยา เช่น แดงแจ๋ สูงปรี๊ด แพงหูฉี่ รวมถึงสำนวนบางสำนวนทำหน้าที่เช่นเดียวกับ

                           คำวิเศษณ์ จัดเป็นคำวิเศษณ์ด้วย เช่น พูดน้ำไหลไฟดับ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ
                   5.3 คำวิเศษณ์แสดงคำถาม คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงคำถามเกี่ยวกับการกระทำ ว่ากระทำไปเพราะเหตุผล

                            อะไรหรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด กระทำลงไปเวลาใด กระทำไปลักษณะใด
                          คำวิเศษณ์แสดงคำถามว่ากระทำลงไปเพราะเหตุอะไรหรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด

                          เช่น ทำไมสัตว์ป่าหลายชนิดจึงสูญพันธุ์ เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงขาดดุลการค้ากับบางประเทศ

                          คำวิเศษณ์แสดงคำถามว่ากระทำลงไปเวลาใด เช่น เครื่องบินจะลงเมื่อไร
                          คำวิเศษณ์แสดงคำถามว่ากระทำไปลักษณะใด เช่น อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14