Page 6 - Thai words in old&new theory
P. 6

3

                   4.4 ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนหรือปริมาณ ได้แก่ มาก น้อย หนึ่ง สอง หลาย ทั้งหมด ฯลฯ
                        ตัวอย่าง    เขาไปเที่ยวหลายวัน       ฉันเลี้ยงสุนัขสองตัว

                   4.5 นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ บอกกำหนดแน่นอน ได้แก่ นี่ นั่น โน่น นั้น โน้น

                        เหล่านี้ เฉพาะ แน่นอน จริง ฯลฯ
                        ตัวอย่าง เขาเรียนอยู่ในห้องนี้

                   4.6 อนิยมสรรพนาม คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความไม่ชี้เฉพาะ ไม่แน่นอน ได้แก่ อะไร ทำไม อย่างไร ไย

                        เช่นไร ฉันใด กี่ ฯลฯ
                          ตัวอย่าง เขาจะไปไหนก็ช่างเขาเถอะ          แม่ซื้ออะไรมาเราก็ทานได้ทั้งนั้น

                   4.7 ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเนื้อความเป็นคำถามหรือความสงสัย ได้แก่ อะไร ไหน ทำไม
                         อย่างไร ฯลฯ

                            ตัวอย่าง น้องทำอะไรอยู่          เธอจะทำอย่างไร

                   4.8 ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ในการเรียกขานและโต้ตอบกัน ได้แก่ คะ ขา ครับ ขอรับ
                        จ๋า  จ๊ะ ฯลฯ

                           ตัวอย่าง    คุณพ่อครับผมขออนุญาตไปดูหนังนะครับ      หนูกลับมาแล้วค่ะ
                   4.9 ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความปฏิเสธ ได้แก่ ไม่ ไม่ใช่ ไม่ได้ หามิได้ บ่ ฯลฯ

                        ตัวอย่าง เขาไม่ทำการบ้านส่งครู        หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ของฉัน

                   4.10 ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมประโยค
                          ให้มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ ชนิดที่ ที่ว่า ว่า เพราะเหตุว่า ฯลฯ

                             ตัวอย่าง  แม่ทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูก       เขาบอกว่าเขากินจุมาก


            5. คำบุพบท คือ คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้น

            เกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ด้วย โดย ตาม ข้าง ถึง จาก ใน บน ใต้ สิ้น

            สำหรับ นอก เพื่อ ของ เกือบ ตั้งแต่ แห่ง ที่ เป็นต้น
                   ชนิดของคำบุพบท มี 2 ชนิด

                   5.1 คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ : ความสัมพันธ์ระหว่างคำประเภทต่าง ๆ เพื่อบอก
                         สถานการณ์ให้ชัดเจน

                   -บอกความเป็นเจ้าของ          เช่น   ฉันซื้อสวนของนางอุบล

                   -บอกเวลา                     เช่น   เธอมาตั้งแต่เช้า
                   -บอกความเกี่ยวข้อง           เช่น   เขาอยู่กับฉันที่บ้าน

                   -บอกสถานที่                  เช่น   สมชายมาจากขอนแก่น
                   -บอกการให้และความประสงค์   เช่น   นักเรียนมอบของที่ระลึกแด่ครู

                   -บอกความเปรียบเทียบ          เช่น   เขาหนักกว่าฉัน

                   5.2 คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น : มักจะวางอยู่ที่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย  มักใช้ใน
                        คำประพันธ์  เช่น ดูก่อน ข้าแต่ ดูกร ส่วนมากจะนำหน้าคำนามหรือสรรพนาม
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11