Page 7 - Thai words in old&new theory
P. 7

4


                                                                  ็
                   6. คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมคำหรือข้อความให้ติดต่อเปนเรื่องเดียวกัน
                   ชนิดของคำสันธาน มี 4 ชนิด

                   6.1 คำสันธานที่เชื่อมใจความคล้อยตามกัน  ได้แก่  กับ  และ  ก็  ครั้ง...ก็  เมื่อ...ก็   พอ...ก็ เป็นต้น
                        ตัวอย่าง  พอฝนหยุดตก กบก็ร้องส่งเสียงระงม

                   6.2 คำสันธานที่เชื่อมใจความขัดแย้งกัน  ได้แก่ แต่  แต่ทว่า  ถึง...ก็  แม้...ก็ เป็นต้น

                        ตัวอย่าง  ถึงเขาจะยากจนแต่เขาก็มีความสุข
                   6.3 คำสันธานที่เชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน   ได้แก่ ดังนั้น  เพราะฉะนั้น เพราะ...จึง ดังนั้น...จึง

                        จึง  ด้วย  เหตุเพราะ  ฉะนั้น เป็นต้น
                        ตัวอย่าง  เพราะเขาขยันอ่านหนังสือ เขาจึงสอบผ่าน

                   6.4 คำสันธานที่เชื่อมใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง   ได้แก่ หรือ  มิฉะนั้น  ไม่...ก็  ไม่เช่นนั้น เป็นต้น

                       ตัวอย่าง  เธอจะกินข้าวขาหมูหรือจะกินข้าวผัดผัก


            7. คำอุทาน  คือ   คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริม
                                                           ้
            คำพูด  เช่นคำว่า  อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ  เป็นตน
                   ตัวอย่าง  เฮ้อ!  ค่อยยังชั่วที่เขาปลอดภัย

                ชนิดของคำอุทาน มี 2 ชนิด
                   7.1 คำอุทานบอกอาการ  เป็นคำอุทานที่แสดงอารมณ์  และความรู้สึกของผู้พูด  เช่น

                          ตกใจ                  ใช้คำว่า      วุ้ย  ว้าย  แหม  ตายจริง

                              ประหลาดใจ         ใช้คำว่า         เอ๊ะ  หือ  หา
                           รับรู้ เข้าใจ           ใช้คำว่า         เออ  อ้อ  อ๋อ

                           เจ็บปวด              ใช้คำว่า         โอ๊ย  โอย  อุ๊ย

                                                                         ่
                           สงสาร เห็นใจ         ใช้คำว่า         โธ๋  โถ  พุทโธ   อนิจจา
                           ร้องเรียก              ใช้คำว่า          เฮ้ย   เฮ้   นี่

                             โล่งใจ                 ใช้คำว่า          เฮอ  เฮ้อ
                           โกรธเคือง            ใช้คำว่า          ชิชะ   แหม

                   7.2 คำอุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่าง ๆ คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริม

                        คำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น
                        เช่น     -  เดี๋ยวนี้มือไม้ฉันมันสั่นไปหมด

                                 -  หนังสือหนังหาเดี๋ยวนี้ราคาแพงมาก
                                 -  พ่อแม่ไม่ใช่หัวหลักหัวตอนะ
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12