Page 4 - Thai words in old&new theory
P. 4
1
คำในภาษาไทย
ตามทฤษฏีของพระยาอุปกิตศิลปสาร กล่าวถึงชนิดของคำในภาษาไทยว่า คำแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
1. คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ
ชนิดของคำนาม แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้
1.1 สามานยนาม (คำนามทั่วไป) คือ คำนามที่เป็นชื่อเรียกทั่วๆไป ไม่เฉพาะเจาะจง
เช่น ปากกา ต้นไม้ หนังสือ เป็นต้น
1.2 วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ) คือ คำที่เรียกชื่อเฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นใคร หรือเป็นที่ไหน
เช่น ประเทศไทย โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นต้น
1.3 สมุหนาม คือ คำนามที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไปและคำนามเฉพาะ เช่น ฝูง คณะ กอง เป็นต้น
1.4 ลักษณะนาม คือ คำนามที่บอกลักษณะของคำนาม เพื่อแสดงรูปลักษณะ ปริมาณ ขนาด ของนามนั้นให้
ชัดเจน เช่น บ้าน 1 หลัง , โต๊ะ 1 ตัว
1.5 อาการนาม คือ คำนามที่แสดงกริยาอาการที่เป็นนามธรรม โดยมีคำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า
เช่น การกิน ความซื่อสัตย์ ความมั่นใจ
2. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เรียกแทนคำนาม เพื่อใช้ในภาษาเขียนและภาษาพูดให้สละสลวยมากยิ่งขึ้น
ชนิดของคำสรรพนาม แบ่งคำสรรพนามออกเป็น ๖ ชนิด ดังนี้
2.1 บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการพูดจากัน แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้
2.1.1 สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูด เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า
2.1.2 สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ฟัง เช่น ท่าน เธอ คุณ
2.1.3 สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้กล่าวถึง เช่น เขา มัน ท่าน
2.2 นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อบอกกำหนดให้ชัดเจนว่าอยู่ใกล้หรือไกล ได้แก่
คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ เช่น นี่คือบ้านของฉัน นั่นเป็นโรงเรียน โน่นเป็นตลาด นี้ของเธอ
2.3 อนิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามบอกความไม่แน่นอน ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่
คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน สิ่งใด เช่น
ใคร ๆ ก็เคยทำผิดทั้งนั้น อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ผู้ใดฝ่าฝืนกฎจะถูกลงโทษอย่างหนัก
2.4 ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม และใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ ไหน
สิ่งใด ผู้ใด เช่น อะไรอยู่ในขวด ใครเป็นผู้แต่งเรื่องนายทองอิน เมื่อไรเธอจะกลับมา