Page 39 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต สาขาการบริหารโครงการสารสนเทศ (Project Management)
P. 39
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาการบริหารโครงการสารสนเทศ (Project Management)
60214 วิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ
เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง (สงวน ช้างฉัตร, 2547: 17-19)
การวิเคราะห์ความเสี่ยงสามารถน าไปใช้ได้กับโครงการทุกประเภทแต่จะใช้ได้ดี และมี
ประโยชน์มากหากโครงการนั้นเป็นโครงการที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ต้องการเงินลงทุน
สูง และด าเนินการให้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความรวดเร็ว โครงการนั้นมีปัญหาด้านสภาวะแวดล้อม
และมีความส าคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยงแบ่งออกเป็น 2
ลักษณะ ดังนี้ :-
1. การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ (Qualitative Risk Analysis) มีการ
ด าเนินการ ขั้นตอนแรก คือ การระบุความเสี่ยงซึ่งเป็นการพิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการ
ต่าง ๆ ความส าเร็จของการระบุความเสี่ยงอาจเกิดจากการสัมภาษณ์สมาชิกทีมงานโครงการ การ
ประชุมระดมความคิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และใช้ประสบการณ์ส่วนบุคคลในการวิเคราะห์ และ
ทบทวนประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ขั้นตอนที่สอง คือ การประเมินความเสี่ยงที่สามารถจัด
หมวดหมู่ความเสี่ยงว่าโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับใด ระดับสูง ระดับกลาง หรือ ระดับต่ า
ขณะเดียวกันก็สามารถระบุผลกระทบต่อโครงการได้ ขั้นตอนที่สาม เตรียมการตอบสนองต่อความ
เสี่ยงที่ระบุไว้ในแต่ละด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการระบุว่าความเสี่ยงนั้น จะต้องให้ความสนใจและ
จัดการอย่างเร่งด่วน ขั้นตอนที่สี่ การประเมินผลการบริหารความเสี่ยงเพื่อพิจารณาสามารถจัดการ
ความเสี่ยงได้ผลมากน้อยเพียงใด และเกิดความเสี่ยงที่ตามมาจากการบริหารความเสี่ยงแรกอย่างไร
ซึ่งอาจท าให้การด าเนินงานประสบความล้มเหลวได้
2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative Risk Analysis) มีขั้นตอนการ
ด าเนินการ คือ การระบุความเสี่ยงทั้งหมด และวิเคราะห์เชิงลึกในด้านปริมาณ ท าให้สามารถระบุ
ผลกระทบต่อโครงการในเชิงปริมาณได้ โดยพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินความส าเร็จของโครงการ
3 ประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่าย (Cost) เวลา (Time) และการปฏิบัติการ (Performance)
รายงานโครงการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 37