Page 21 - ศิลปศึกษาทช21003.indd
P. 21

13


                      ประติมากรรมไทยคืออะไร แบงเปนกี่ประเภท

                            ประติมากรรมเปนผลงานศิลปกรรมที่เปนรูปทรง 3 มิติ มีความสูง ความกวางและ

                      ความนูน หรือความลึก  มีปริมาตรที่จับตองไดและกินระวางเนื้อที่ในอากาศ เกิดขึ้นจาก

                      กรรมวิธีการสรางสรรคแบบตาง ๆ เชน การปนและหลอ  การแกะสลัก การฉลุหรือดุน

                      โดยทั่วไปมี 3 แบบคือ ประติมากรรมแบบลอยตัว สามารถดูไดโดยรอบ ประติมากรรมนูน

                      มีพื้นรองรับสามารถดูไดเฉพาะดานหนาและดานเฉียงเทานั้น  และประติมากรรมแบบเจาะลึก

                      ลงไปในพื้น  สวนใหญเนนเนื้อหาทางศาสนา มักปรากฏอยูตามวัดและวัง มีขนาดตั้งแตเล็ก

                      ที่สุด เชน  พระเครื่อง  เครื่องรางของขลัง จนถึงขนาดใหญที่สุด เชน  พระอัจนะหรือพระ

                      อัฏฐารส  ซึ่งเปนพระพุทธรูปขนาดใหญ



                            ผลงานประติมากรรมไทย แบงออกไดเปน 4 ประเภท สรุปไดดังนี้
                            1. ประติมากรรมไทยที่เกิดขึ้นจากความเชื่อ ความศรัทธา คตินิยมเกี่ยวของกับศาสนา


                      เชน พระพุทธรูปปางตาง ๆ ลวดลายของฐานเจดียหรือพระปรางคตาง ๆ
                            2. ประติมากรรมไทยพวกเครื่องใชในชีวิตประจําวัน เชน โอง หมอ ไห ครก กระถาง

                            3. ประติมากรรมไทยพวกของเลน ไดแก ตุกตาดินปน ตุกตาจากกระดาษ ตุกตาจากผา

                      หุนกระบอก ปลาตะเพียนสานใบลาน หนากาก วัสดุจากเปลือกหอย ชฎาหัวโขน

                            4. ประติมากรรมไทยพวกเครื่องประดับตกแตง เชน กระถางตนไม โคมไฟดินเผา



                      สถาปตยกรรมไทยคืออะไร แบงเปนกี่ประเภท

                            สถาปตยกรรมไทย  หมายถึง ศิลปะการกอสรางของไทย โดยมีมูลเหตุที่มาของการ

                      กอสรางอาคารบานเรือนในแตละทองถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกตางกันไปบางตามสภาพ

                      ทางภูมิศาสตร และคตินิยมของแตละทองถิ่น

                            สถาปตยกรรมไทย สามารถแบงตามลักษณะการใชงานได   2   ประเภท  คือ

                            1.  สถาปตยกรรมที่ใชเปนที่อยูอาศัย มีทั้งเรือนไมและเรือนปูน เรือนไมมีอยู 2 ชนิด

                      คือ เรือนเครื่องผูก และเรือนเครื่องสับ ลักษณะเรือนไมของไทยในแตละทองถิ่นแตกตางกัน

                      แตโดยทั่วไปแลวจะมีลักษณะสําคัญรวมกันคือเปนเรือนไมชั้นเดียว ใตถุนสูง หลังคาทรงจั่ว

                      เอียงลาดชัน









                                                                         ศิลปศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  :  ทช21003  21
                                                                                         ส�ำนักงำน กศน.จังหวัดกำฬสินธุ์
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26