Page 87 - คำวินิจฉัยศาลปกครองด้านพัสดุ
P. 87
บทที่ ๒
แนวค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด
เกี่ยวกับอ านาจศาล
จากการศึกษาค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในคดีพิพาทเกี่ยวกับการพัสดุพบว่า
ข้อพิพาทเกี่ยวกับการพัสดุอาจเป็นคดีพิพาททางปกครองได้ทั้งกรณีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
๘๐
(๑), (๒), (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ โดยมีตัวอย่างค าวินิจฉัย
ที่น่าสนใจจ าแนกตามประเภทคดีในมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ดังกล่าว และตามข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละวิธี ดังนี้
๑. คดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
๑.๑ ข้อพิพาทในขั้นตอนการจัดท าเอกสารหรือประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
ขั้นตอนการจัดท าเอกสารหรือประกาศจัดซื้อจัดจ้างเป็นขั้นตอนภายหลังจากที่
หัวหน้าส่วนราชการได้ให้ความเห็นชอบรายงานการขอซื้อขอจ้างของเจ้าหน้าที่พัสดุแล้ว
ซึ่งเจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องจัดท าเอกสารหรือประกาศจัดซื้อจัดจ้างโดยมีรายการที่ต้องระบุ
๘๐ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๙ ศาลปกครองมีอ านาจพิจารณาพิพากษาหรือมีค าสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระท าการโดยไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ ค าสั่งหรือการกระท าอื่นใด เนื่องจากกระท าโดยไม่มีอ านาจหรือ
นอกเหนืออ านาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการ
อันเป็นสาระส าคัญที่ก าหนดไว้ส าหรับการกระท านั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอน
โดยไม่จ าเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่
กฎหมายก าหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระท าละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อ านาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ ค าสั่งทางปกครอง หรือค าสั่งอื่น
หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายก าหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ฯลฯ ฯลฯ