Page 66 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 66

-  ในกรณีที่เกษตรกรมีบ่อจำนวนมาก  แต่ขนาดบ่อ

               แตกต่างกัน เกษตรกรควรจัดทำบ่อกักเลน  โดยประมาณการพื้นที่
               บ่อกักเลนจากขนาดพื้นที่บ่อเลี้ยง 1 บ่อ ที่ใหญ่ที่สุดหรือใช้บ่อเลี้ยงที่

               ว่างหรือคูน้ำสำหรับตกตะกอนน้ำทิ้งและกักเลนก้นบ่อ  โดยพื้นที่
               ตกตะกอนน้ำทิ้งและกักเลนควรมีขนาดไม่น้อยกว่าพื้นที่บ่อกักเลน

                        -  ในกรณีที่น้ำทิ้งก้นบ่อในบ่อกักเลนไม่ตกตะกอน หรือ
               ตกตะกอนช้า เกษตรกรสามารถใช้ปูนขาวหว่านให้ทั่วบ่อในอัตรา

               150 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยให้ตกตะกอนเร็วขึ้น และลดความเป็นกรด
               ของน้ำทิ้งก้นบ่อ

                        -  ในกรณีที่เกษตรกรมีพื้นที่จำนวนมากและเดิมมีการ
               เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดเดียว สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้มีการเพาะ

               เลี้ยงสัตว์น้ำกินเนื้อร่วมกับสัตว์น้ำกินพืชได้ โดยนำน้ำจากบ่อเลี้ยง
               สัตว์น้ำกินเนื้อทิ้งลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำกินพืช ซึ่งช่วยลดปริมาณความ

               เข้มข้นของมลพิษลงได้ หรือสามารถนำน้ำจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำกินพืช
               กลับลงไปเลี้ยงในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกินเนื้อได้อีก

                                                                              คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ



               การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากการเลี้ยงปลาใน

               กระชัง
                      การป้องกันปัญหา

                      1.  ควรเลี้ยงปลาไม่เกิน 800 ตัว/กระชัง
                      2.  หมั่นดูแลรักษาสภาพกระชัง

                        -  ตักเศษอาหารส่วนเกิน
                        -  เก็บกากตะกอน

                        -  ทำความสะอาดอวนกระชังไม่ให้มีตะกอนหรือตะไคร่
               น้ำอุดตัน                                                       59
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71